บทความเกี่ยวกับ : Inbody , เครื่องวัดมวลกล้ามเนื้อ
Inbody เครื่องวัดมวลกล้ามเนื้อ เช็คไขมัน รู้ทันก่อนเกิดโรค
Inbody เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ องค์ประกอบร่างกาย ที่ช่วยให้เราสามารถเข้าใจสุขภาพของตัวเองได้แบบถ่องแท้ ด้วยเทคโนโลยีที่แม่นยำและทันสมัย InBody จึงเป็นตัวช่วย ที่ทำให้เราวางแผนการดูแลสุขภาพ ได้อย่างตรงจุด
สารบัญ Inbody เครื่องวัดมวลกล้ามเนื้อ
• Inbody คืออะไร
• ทำไมเราต้องวิเคราะห์สุขภาพด้วยเครื่อง Inbody
• Inbody มีกระบวนการทำงานอย่างไร
• ใครบ้างที่เหมาะกับการตรวจวิเคราะห์ด้วย Inbody
• Inbody ไม่เหมาะกับใครบ้าง
• ข้อดีของการตรวจร่างกายด้วย Inbody
• Inbody มีข้อจำกัดอะไรบ้าง
• ความแตกต่างระหว่างตรวจ Inbody กับการตรวจสุขภาพแบบดั้งเดิม
• ก่อนตรวจ Inbody ต้องเตรียมตัวอย่างไร
• 5 ขั้นตอนการวิเคราะห์ด้วย Inbody
• ค่าที่เครื่อง Inbody วัดได้
• หลังจากตรวจ Inbody แล้วค่าไขมันสูงควรทำอย่างไร
• สรุปทุกเรื่องเกี่ยวกับ Inbody
• Q and A ของ Inbody ที่คนอยากรู้มากที่สุด
Inbody คืออะไร
Inbody คืออุปกรณ์ที่ใช้ตรวจวิเคราะห์องค์ประกอบต่างๆ ของร่างกายอย่างละเอียด ซึ่งตัวเครื่อง Inbody สามารถบอกถึงปริมาณน้ำ เกลือแร่ ไขมัน และปริมาณกล้ามเนื้อในร่างกายได้อย่างแม่นยำ ซึ่งเครื่อง Inbody ไม่ได้บอกแค่น้ำหนักตัวเพียงอย่างเดียว การที่เราตรวจวัดร่างกายด้วยเครื่อง Inbody จะทำให้เราสามารถเลือกวิธีดูแลตัวเองได้อย่างแม่นยำ และมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ทำไมเราต้องวิเคราะห์สุขภาพด้วยเครื่อง Inbody
คนเราแต่ละคนมักจะมีองค์ประกอบร่างกายไม่เหมือนกันเลย ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆ ถ้าเรากับเพื่อนมีน้ำหนักที่เท่ากัน ดูด้วยตาเปล่าเรามีสัดส่วนที่คล้าย กันมาก แต่พอเราและเพื่อนมีการตรวจวิเคราะห์ร่างกายด้วยเครื่อง Inbody พบว่าน้ำหนักของเราที่เท่าเพื่อนนั้นเกิดจากการที่เรามีปริมาณไขมันมากกว่ากล้ามเนื้อ ส่วนเพื่อนมีปริมาณกล้ามเนื้อมากกว่าไขมัน
เราเลยไม่ควรชะล่าใจถ้าชั่งน้ำหนักแล้ว อยู่ในเกณฑ์ที่ปกติ เพราะเครื่องชั่ง และการมองด้วยตาเปล่า อาจไม่สามารถบอกเราได้เลยแบบทันที ว่าเราสุขภาพดีจริงๆ หรือเปล่า เพราะฉะนั้นการตรวจวิเคราะห์ร่างกายด้วยเครื่อง Inbody จึงค่อนข้างสำคัญสำหรับการวางแผนดูแลสุขภาพ
Inbody มีกระบวนการทำงานอย่างไร
Inbody มีกระบวนการทำงาน โดยอาศัยหลักการวัดความต้านทาน ต่อการไหลเวียนของกระแสไฟฟ้า ที่ไหลผ่านร่างกาย กระแสไฟฟ้าที่ไหลเวียนผ่านร่างกายนี้ เป็นกระแสไฟแบบอ่อนๆ เพียง 1-2 โวลต์เท่านั้น เราเรียกระบวนกานการนี้ว่า BIA
( Bioelectrical Impedance Analysis ) ซึ่งในเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกายเรา มีแรงต้านทานของกระแสไฟฟ้าที่ไม่เท่ากันอยู่แล้ว ส่งผลให้การทำงานของเครื่อง Inbody สามารถที่จะวัดส่วนประกอบทั้งหมดในร่างกายของเราได้
ข้อมูลแสดงผลของเครื่อง Inbody เป็นข้อมูลส่วนบุคคล จะแสดงผลแตกต่างกันออกไป แล้วแต่ร่างกายของแต่ละคน
5 ขั้นตอนการทำงานของเครื่อง Inbody โดยสรุป
1.ส่งกระแสไฟฟ้าอ่อนผ่านร่างกาย
Inbody จะส่งกระแสไฟฟ้าความถี่ต่ำผ่านอิเล็กโทรดที่สัมผัสกับร่างกาย เช่น ฝ่าเท้าและฝ่ามือ เพื่อวัดค่าความต้านทาน (Impedance) ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเราได้อย่างแม่นยำ
2.วิเคราะห์ความต้านทานในเนื้อเยื่อแต่ละส่วน
กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านน้ำในร่างกายได้ง่ายกว่าไขมัน ดังนั้น Inbody จะวัดความต้านทานที่แตกต่างกันระหว่างเนื้อเยื่อ เช่น กล้ามเนื้อ, ไขมัน, และน้ำ
3.การแยกส่วนร่างกาย (Segmental Analysis)
เทคโนโลยีของ Inbody สามารถแยกวิเคราะห์องค์ประกอบร่างกายเป็นส่วน ๆ เช่น แขน ขา และลำตัว เพื่อให้ทราบถึงความสมดุลของมวลกล้ามเนื้อและไขมันในแต่ละส่วน
4.การคำนวณและสร้างรายงานผล
ผลการวิเคราะห์ของ Inbody จะถูกแปลงเป็นค่าต่าง ๆ เช่น
• มวลกล้ามเนื้อ (Skeletal Muscle Mass • SMM)
• มวลไขมันในร่างกาย (Body Fat Mass • BFM)
• ปริมาณน้ำในร่างกาย (Total Body Water • TBW)
• อัตราส่วนไขมันต่อกล้ามเนื้อ (PBF: Percent Body Fat)
5.การแสดงผลลัพธ์ของ Inbody
ข้อมูลทั้งหมดจะถูกแสดงในรูปแบบรายงานที่เข้าใจง่าย ช่วยให้ผู้ใช้สามารถนำไปวางแผนดูแลสุขภาพ เช่น การลดน้ำหนัก เสริมสร้างกล้ามเนื้อ หรือปรับสมดุลร่างกายได้อย่างเหมาะสม
ใครบ้างที่เหมาะกับการตรวจวิเคราะห์ด้วย Inbody
การตรวจวิเคราะห์ด้วย Inbody เป็นประโยชน์สำหรับกลุ่มคนหลากหลายกลุ่มที่ต้องการข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับองค์ประกอบร่างกายเพื่อวางแผนและดูแลสุขภาพของตนเอง โดยเฉพาะกลุ่มคนต่อไปนี้
1.Inbody เหมาะสำหรับบุคคลทั่วไปที่ใส่ใจสุขภาพ
ผู้ที่ต้องการทราบถึงสุขภาพโดยรวมของตัวเอง เช่น ระดับไขมันในร่างกาย หรือมวลกล้ามเนื้อ เพื่อปรับพฤติกรรมและวางแผนเกี่ยวกับการลดไขมันได้อย่างเหมาะสม
2.Inbody เหมาะสำหรับนักกีฬาและผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ
สำหรับผู้ที่ต้องการพัฒนาศักยภาพร่างกาย Inbody ช่วยประเมินการกระจายมวลกล้ามเนื้อในร่างกาย และติดตามผลลัพธ์จากการออกกำลังกายได้อย่างละเอียด
3.Inbody เหมาะสำหรับผู้ที่มีเป้าหมายลดน้ำหนักหรือเพิ่มกล้ามเนื้อ
Inbody ช่วยให้เข้าใจอัตราส่วนของไขมันและกล้ามเนื้อในร่างกาย ช่วยวางแผนการลดน้ำหนักหรือเสริมสร้างกล้ามเนื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.Inbody เหมาะสำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงด้านสุขภาพ
ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือโรคอ้วน สามารถใช้ผลวิเคราะห์จาก InBody ในการปรับแผนการดูแลสุขภาพร่วมกับผู้เชี่ยวชาญได้
5.Inbody เหมาะสำหรับคนที่อยู่ในโปรแกรมฟื้นฟูร่างกาย
ผู้ที่อยู่ระหว่างการฟื้นฟูสุขภาพ หลังการบาดเจ็บหรือการผ่าตัด สามารถใช้ Inbody เพื่อประเมินความก้าวหน้าในการฟื้นตัว
6.Inbody เหมาะสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพและฟิตเนส
เทรนเนอร์ส่วนตัว โค้ชฟิตเนส หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสามารถใช้ InBody ในการให้คำปรึกษาและติดตามผลลัพธ์ของผู้ป่วยหรือลูกค้าได้อย่างมืออาชีพ
Inbody ไม่เหมาะกับใครบ้าง
แม้ Inbody จะเป็นเครื่องมือตรวจวัดสุขภาพ ที่ปลอดภัย และมีประโยชน์ สำหรับการตรวจวิเคราะห์ร่างกาย แต่ก็มีข้อจำกัด สำหรับบางกลุ่มคน ที่อาจไม่เหมาะสม หรือควรใช้งานภายใต้คำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่
1.ผู้ที่มีอุปกรณ์ทางการแพทย์ฝังในร่างกาย
เช่น เครื่องกระตุ้นหัวใจ (Pacemaker) หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ที่ฝังในร่างกาย เนื่องจาก Inbody ใช้กระแสไฟฟ้าอ่อนในการวิเคราะห์ ซึ่งอาจรบกวนการทำงานของอุปกรณ์ดังกล่าว
2.หญิงตั้งครรภ์ (ในบางกรณี)
แม้กระแสไฟฟ้าจาก Inbody จะไม่เป็นอันตราย แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้งานเพื่อความมั่นใจ โดยเฉพาะในช่วงตั้งครรภ์ระยะแรก
3.เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 3 ปี
เนื่องจากเครื่อง Inbody ออกแบบมาเพื่อการวิเคราะห์ร่างกายในผู้ใหญ่และเด็กโต ค่าอาจไม่แม่นยำสำหรับเด็กเล็ก
4.ผู้ที่เพิ่งออกกำลังกายหนักหรือดื่มน้ำจำนวนมากก่อนการตรวจ
การใช้ Inbody ในขณะที่ร่างกายยังมีความไม่สมดุล เช่น เหงื่อออกมาก หรือปริมาณน้ำในร่างกายเปลี่ยนแปลง อาจทำให้ผลวิเคราะห์คลาดเคลื่อน
5.ผู้ที่อยู่ในช่วงฟื้นตัวจากอาการเจ็บป่วยเฉียบพลัน
หากร่างกายยังมีภาวะบวมหรือติดเชื้อ การวิเคราะห์ของเครื่อง Inbody อาจไม่ได้ข้อมูลตามความเป็นจริง
6.ผู้ที่มีโลหะหรือวัสดุฝังในร่างกายบางประเภท
เช่น โลหะจากการผ่าตัด หรือวัสดุทางทันตกรรม ที่อาจรบกวนการส่งกระแสไฟฟ้า และทำให้ผลลัพธ์จากเครื่อง Inbody ไม่แม่นยำ
ข้อดีของการตรวจร่างกายด้วย Inbody
การตรวจวิเคราะห์ร่างกายด้วย Inbody มีข้อดีมากมาย ที่ช่วยให้เราสามารถเข้าใจสุขภาพ และวางแผนการดูแลตัวเอง ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
1.วิเคราะห์ร่างกายอย่างละเอียด
Inbody ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับองค์ประกอบร่างกาย เช่น มวลกล้ามเนื้อ ไขมัน น้ำในร่างกาย และมวลกระดูก ช่วยให้เข้าใจสุขภาพร่างกายของเราได้ในระดับลึก
2.ช่วยวางแผนสุขภาพได้อย่างเหมาะสม
ข้อมูลจาก InBody สามารถใช้ในการวางแผนการลดน้ำหนัก เสริมสร้างกล้ามเนื้อ หรือปรับสมดุลร่างกายได้ตรงจุด
3.ติดตามผลลัพธ์การดูแลสุขภาพ
สามารถตรวจวัด Inbody เป็นระยะได้ เพื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เช่น การเพิ่มกล้ามเนื้อหรือลดไขมัน
4.เหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย
Inbody สามารถใช้ได้กับคนหลากหลายกลุ่ม เช่น ผู้สูงอายุ เด็กโต ผู้ที่ต้องการฟื้นฟูร่างกาย หรือผู้ที่กำลังออกกำลังกาย
5.สะดวกและรวดเร็ว
ใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีในการตรวจ Inbody และได้ผลลัพธ์ที่เข้าใจง่ายทันที
6.ช่วยป้องกันโรคเรื้อรัง
ค่าที่ได้จากการตรวจ Inbody ทำให้เราทราบปริมาณไขมันในร่างกาย ไขมันภายใน และระดับน้ำในร่างกายช่วยลดความเสี่ยงต่อโรค เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ
7.เทคโนโลยีที่แม่นยำ
Inbody ใช้เทคโนโลยี Bioelectrical Impedance Analysis (BIA) ที่พัฒนาให้แม่นยำและมีข้อผิดพลาดน้อยที่สุด
8.ประเมินความสมดุลของร่างกาย
Inbody ช่วยตรวจสอบความสมดุลของกล้ามเนื้อ และไขมันในแต่ละส่วนของร่างกาย เช่น แขน ขา และลำตัว
9.ไม่มีความเจ็บปวดและมั่นใจได้เลยว่าปลอดภัย
กระแสไฟฟ้าที่ใช้ในการวิเคราะห์ของเครื่อง Inbody ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
10.ช่วยเพิ่มแรงจูงใจในการดูแลสุขภาพ
ผลการวิเคราะห์จาก Inbody สามารถกระตุ้นให้ผู้ใช้ตั้งเป้าหมาย และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น
Inbody มีข้อจำกัดอะไรบ้าง
แม้ Inbody จะเป็นอุปกรณ์ที่มีความแม่นยำ และให้ข้อมูลที่มีประโยชน์เกี่ยวกับองค์ประกอบร่างกาย แต่ก็มีข้อจำกัดบางอย่างด้วยเช่นกัน ได้แก่
1.การวัดด้วย Inbody อาจได้รับผลกระทบ จากปัจจัยภายนอก ทำให้ผลคลาดเคลื่อนได้
• การดื่มน้ำมากเกินไป
• การออกกำลังกายก่อนการตรวจ
• การรับประทานอาหารก่อนตรวจ
ปัจจัยเหล่านี้อาจทำให้ข้อมูลจาก Inbody ที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง
2.ข้อจำกัดในการใช้งานกับบางกลุ่มบุคคล
• ผู้ที่มีอุปกรณ์ทางการแพทย์ฝังในร่างกาย เช่น เครื่องกระตุ้นหัวใจ
• ผู้ที่มีโลหะฝังในร่างกาย หรืออุปกรณ์ช่วยเหลืออื่น ๆ
• หญิงตั้งครรภ์ ซึ่งควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้งาน
3.Inbody อาจไม่เหมาะสำหรับเด็กเล็ก
เด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 3 ปี หรือเด็กที่ยังมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว อาจไม่ได้รับผลการวิเคราะห์ที่เหมาะสม
4.Inbody ไม่สามารถวินิจฉัยโรคได้
Inbody เป็นเครื่องมือวิเคราะห์องค์ประกอบร่างกาย ไม่สามารถบอกถึงภาวะหรือวินิจฉัยโรคได้ เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน หรือมะเร็ง ได้โดยตรง
5.จำเป็นต้องมีการตีความโดยผู้เชี่ยวชาญ
แม้ Inbody จะให้ข้อมูลที่หลากหลาย แต่การแปลผล และการวางแผนการดูแลสุขภาพ ควรทำโดยผู้เชี่ยวชาญ เช่น แพทย์ นักโภชนาการ หรือเทรนเนอร์ เป็นต้น
6.ค่าจากเครื่อง Inbody อาจไม่แม่นยำถ้าอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม
เช่น อุณหภูมิที่ร้อนหรือเย็นเกินไป หรือพื้นผิวที่ไม่เสถียรระหว่างการตรวจวัดด้วยเครื่อง Inbody
ความแตกต่างระหว่างตรวจ Inbody กับการตรวจสุขภาพแบบดั้งเดิม
การตรวจด้วย Inbody และการตรวจสุขภาพแบบดั้งเดิม มีจุดประสงค์แบบเดียวกัน คือการประเมินสุขภาพเชิงลึกของแต่ละของบุคคล แต่มีความแตกต่างในแง่วิธีการ ความละเอียด และเป้าหมายดังนี้
1.วิธีการตรวจวิเคราะห์
• Inbody ใช้เทคโนโลยี Bioelectrical Impedance Analysis (BIA) ในการวัดองค์ประกอบของร่างกาย เช่น มวลกล้ามเนื้อ ไขมัน และน้ำในร่างกาย ผ่านกระแสไฟฟ้าความถี่ต่ำ
• การตรวจสุขภาพแบบดั้งเดิม ใช้วิธีการทางการแพทย์ เช่น การเจาะเลือด, เอกซเรย์, การตรวจปัสสาวะ, การวัดความดันโลหิต และการตรวจร่างกายโดยแพทย์
2.ข้อมูลที่ได้
• Inbody เน้นการวิเคราะห์องค์ประกอบร่างกาย เช่น
• มวลไขมัน (Body Fat Mass)
• มวลกล้ามเนื้อ (Skeletal Muscle Mass)
• ปริมาณน้ำในร่างกาย (Total Body Water)
• สัดส่วนกล้ามเนื้อและไขมันในแต่ละส่วนของร่างกาย
• การตรวจสุขภาพแบบดั้งเดิม เน้นการวินิจฉัยโรคและการตรวจค่าสุขภาพสำคัญ เช่น
• ระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting Blood Sugar)
• ไขมันในเลือด (Cholesterol, LDL, HDL)
• การทำงานของตับและไต
3.เป้าหมายของการตรวจ
• Inbody มุ่งเน้นที่การประเมินโครงสร้างร่างกาย เพื่อช่วยวางแผนการออกกำลังกาย การลดน้ำหนัก หรือการเพิ่มกล้ามเนื้อ
• การตรวจสุขภาพแบบดั้งเดิม มีเป้าหมายในการตรวจหาโรค, ประเมินความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง และการดูแลสุขภาพในภาพรวม
4.ความละเอียดและการใช้งาน
• Inbody ให้ข้อมูลเฉพาะทางด้านโครงสร้างร่างกาย เหมาะสำหรับการติดตามความเปลี่ยนแปลง ของร่างกาย ระหว่างการออกกำลังกายหรือควบคุมน้ำหนัก
• การตรวจสุขภาพแบบดั้งเดิม มีความครอบคลุมในด้านการตรวจหาโรค และความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย
5.ระยะเวลาในการตรวจ
• Inbody ใช้เวลาเพียง 2-5 นาทีต่อการตรวจหนึ่งครั้ง และได้ผลลัพธ์ทันที
• การตรวจสุขภาพแบบดั้งเดิม ใช้เวลาในการตรวจ และอาจต้องรอผลจากห้องปฏิบัติการ นานหลายชั่วโมงหรือเป็นวัน
6.ค่าใช้จ่าย
• Inbody ค่าใช้จ่ายค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับการตรวจสุขภาพแบบดั้งเดิม และเหมาะสำหรับการตรวจซ้ำบ่อย ๆ
• การตรวจสุขภาพแบบดั้งเดิม ค่าใช้จ่ายสูงกว่า โดยเฉพาะการตรวจที่ซับซ้อน เช่น การเอกซเรย์หรือ MRI
7.การใช้งานในชีวิตประจำวัน
• Inbody เหมาะสำหรับการติดตามสุขภาพและองค์ประกอบร่างกายอย่างต่อเนื่อง เช่น การติดตามผลลัพธ์จากโปรแกรมออกกำลังกายหรือควบคุมน้ำหนัก
• การตรวจสุขภาพแบบดั้งเดิม ใช้เพื่อการวินิจฉัยโรคและประเมินสุขภาพในเชิงลึก โดยควรทำเป็นประจำปีละครั้ง
ตารางเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการตรวจ Inbody กับการตรวจสุขภาพแบบดั้งเดิม
หัวข้อ |
Inbody |
การตรวจสุขภาพแบบดั้งเดิม |
วิธีการตรวจวิเคราะห์ |
ใช้เทคโนโลยี Bioelectrical Impedance Analysis (BIA) |
ใช้วิธีทางการแพทย์ เช่น เจาะเลือด, เอกซเรย์, ตรวจปัสสาวะ |
ข้อมูลที่ได้ |
องค์ประกอบร่างกาย เช่น มวลกล้ามเนื้อ, ไขมัน, น้ำในร่างกาย |
ค่าสุขภาพ เช่น น้ำตาลในเลือด, ไขมันในเลือด, การทำงานของอวัยวะ |
เป้าหมาย |
วิเคราะห์โครงสร้างร่างกายสำหรับการออกกำลังกายหรือควบคุมน้ำหนัก |
ตรวจหาโรค, ประเมินความเสี่ยงโรคเรื้อรัง, สุขภาพภาพรวม |
ความละเอียด |
เน้นรายละเอียดด้านโครงสร้างร่างกาย |
ครอบคลุมทุกระบบในร่างกาย |
ระยะเวลา |
2-5 นาที ได้ผลทันที |
ใช้เวลาหลายชั่วโมงหรือเป็นวัน |
ค่าใช้จ่าย |
ค่อนข้างต่ำ |
ค่าใช้จ่ายสูง โดยเฉพาะการตรวจเชิงลึก |
การใช้งาน |
ติดตามสุขภาพและองค์ประกอบร่างกายอย่างต่อเนื่อง |
ตรวจหาโรคหรือความผิดปกติ ปีละครั้งหรือเมื่อมีปัญหาสุขภาพ |
ความเหมาะสม |
ผู้ที่ออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนัก หรือดูแลโครงสร้างร่างกาย |
ทุกคนที่ต้องการประเมินสุขภาพโดยรวม |
ข้อจำกัด |
ไม่เหมาะกับผู้มีอุปกรณ์ฝังในร่างกาย เช่น Pacemaker |
ต้องใช้เวลานานและอาจมีความเจ็บปวดจากบางการตรวจ |
ความถี่ที่ควรตรวจ |
ตรวจได้บ่อย เช่น ทุกเดือนเพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลง |
ปีละครั้ง หรือตามคำแนะนำของแพทย์ |
สรุประหว่างการวิเคราะห์ร่างกายด้วย Inbody และการตรวจสุขภาพแบบเดิม
• Inbody เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างร่างกายเพื่อปรับปรุงสุขภาพในเชิงป้องกัน
• การตรวจสุขภาพแบบดั้งเดิม เหมาะสำหรับการตรวจหาความผิดปกติหรือโรคที่ซ่อนอยู่ในร่างกาย
ก่อนตรวจ Inbody ต้องเตรียมตัวอย่างไร
เนื่องจากการตรวจวิเคราะห์ร่างกายด้วยเครื่อง Inbody เป็นการตรวจที่ไม่ยุ่งยาก และไม่ซับซ้อนก่อนตรวจเลยไม่จำเป็นต้อง งดอาหาร แค่ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และไม่ควรดื่มน้ำก่อนตรวจวิเคราะห์ด้วย Inbody เพราะถ้าดื่มน้ำในปริมาณที่เยอะก่อนตรวจ จะทำให้ร่างกายบวมน้ำ ค่าที่วัดได้จาก Inbody อาจทำให้ผลเพี้ยนไปได้
5 ขั้นตอนการวิเคราะห์ด้วย Inbody
ในการตรวจวัดวิเคราะห์ร่างกายด้วยเครื่อง Inbody จะใ้ชเวลาเพียง 5 -10 นาทีเท่านั้น เพราะใช้กระแสไฟฟ้าต่ำ วิธีการไม่ยุ่งยาก ตามขั้นตอนต่อไปนี้
1.การเตรียมตัวก่อนตรวจ Inbody
• ยืนบนเครื่องตรวจด้วยเท้าเปล่า ไม่สวมรองเท้า ถุงเท้า หรือถุงน่อง
• ถอดเครื่องประดับ เช่น แหวน สร้อยข้อมือ หรือเข็มขัด
2.การป้อนข้อมูลส่วนบุคคล
• เจ้าหน้าที่ป้อนข้อมูล เช่น อายุ ส่วนสูง และน้ำหนัก เพื่อปรับการประมวลผลให้เหมาะสมกับผู้เข้ารับการตรวจ
3.ขั้นตอนการตรวจด้วย Inbody
• ผู้เข้ารับการตรวจจับราวจับของเครื่องด้วยมือทั้งสองข้าง
• ยืนนิ่งๆ บนเครื่องตรวจประมาณ 5 นาที
4.กระบวนการวิเคราะห์ Inbody
• เครื่องจะวิเคราะห์องค์ประกอบร่างกาย เช่น มวลกล้ามเนื้อ ไขมัน น้ำในร่างกาย
• ผลการตรวจจะถูกพิมพ์ออกมาในรูปแบบกระดาษ
5.การประเมินผลและคำแนะนำหลังได้ค่าจากเครื่อง Inbody
• แพทย์หรือเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลอ่านและวิเคราะห์ผลตรวจ
• ให้คำแนะนำเฉพาะบุคคลเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามผลที่ได้
ค่าที่เครื่อง Inbody วัดได้
ผลลัพธ์จากเครื่อง Inbody ควรให้ผู้ช่วยชาญอ่านวิเคราะห์ผลลัพธ์ เพื่อจะได้สามารถวางแผน หรือประเมิณสุขภาพได้อย่างแม่นยำมากที่สุด เราสามารถแปลค่าจากเครื่อง Inbody เบื้องต้นได้ดังนี้
ดัชนีมวลกาย (BMI)
• ใช้ประเมินว่าน้ำหนักตัวเหมาะสม น้อยเกินไป หรือมากเกินไป
• แพทย์จะพิจารณาปริมาณกล้ามเนื้อ ไขมัน และองค์ประกอบอื่นๆ ร่วมด้วย
อัตราส่วนเอวต่อสะโพก (WHR)
• ค่าปกติ
• ผู้ชายควรน้อยกว่า 0.9
• ผู้หญิงควรน้อยกว่า 0.85
ปริมาณน้ำในร่างกาย (Total Body Water)
• ประเมินปริมาณน้ำในเซลล์และนอกเซลล์
• ช่วยกำหนดปริมาณน้ำที่ควรดื่มต่อวันตามกิจวัตรประจำวัน
อาการบวมน้ำ (Edema)
• ใช้ประเมินภาวะน้ำคั่งในร่างกาย
• อาจแนะนำลดอาหารเค็มและหลีกเลี่ยงอาหารโซเดียมสูง
ปริมาณโปรตีนและแร่ธาตุ (Protein Mass & Minerals Mass)
• ใช้กำหนดชนิดและปริมาณสารอาหารที่เหมาะสม
ปริมาณกล้ามเนื้อโดยรวม (Skeletal Muscle Mass)
• สัมพันธ์กับอัตราการเผาผลาญพื้นฐาน (BMR)
• สะท้อนอายุร่างกายและปรับปรุงได้ด้วยการออกกำลังกายและโภชนาการ
ความสมดุลของกล้ามเนื้อ (Lean Muscle Mass)
• ประเมินกล้ามเนื้อในแขน ขา และลำตัวแต่ละส่วน
• ใช้ในการวางแผนออกกำลังกายเพื่อปรับสมดุล
มวลไขมันในร่างกาย (Body Fat Mass)
• ประเมินไขมันรวมในร่างกาย
• ช่วยปรับชนิดอาหารและลดความเสี่ยงโรค
เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย (Body Fat Percentage)
• ผู้ชาย ค่าปกติ 10-20%
• ผู้หญิง ค่าปกติ 18-28%
• ใช้ในการปรับรูปร่างและสร้างความคมชัดของกล้ามเนื้อ เช่น กล้ามเนื้อหน้าท้อง
ไขมันสะสมในอวัยวะภายใน (Visceral Fat Area)
• ค่าที่เหมาะสมไม่ควรเกิน 100 cm²
• ไขมันที่มากเกินไปอาจเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจและเบาหวาน
• แพทย์จะให้คำแนะนำเรื่องการกินและออกกำลังกายเพื่อลดไขมันดังกล่าว
หลังจากตรวจ Inbody แล้วค่าไขมันสูงควรทำอย่างไร
หลังจากตรวจ Inbody แล้วค่าไขมันสูงสามารถวางแผนสุขภาพ เพื่อลดไขมันได้ดังนี้
1.ลดไขมันด้วยการวางแผนออกกำลังกายควบคู่กับการคุมอาหาร
2.สลายไขมันด้วยความเย็น Coolsculpting
3.กำจัดไขมันระดับเซลล์ ด้วย Indiba
4.ลดไขมันกระชับสัดส่วน ด้วย Oligio Body
สรุปทุกเรื่องเกี่ยวกับ Inbody
การตรวจวิเคราะห์ร่างกายด้วย Inbody เป็นประโยชน์อย่างมาก ในการวางแผนสุขภาพของเราในอนาคต และทำให้เรารู้สุขภาพของตัวเอง ในปัจจุบันด้วยว่า นอกจากตัวเลขน้ำหนักที่เราเห็นชัดๆ แล้ว เรายังรู้ด้วยว่าในตัวเลขนั้น ประกอบไปด้วย กล้ามเนื้อหรือไขมัน และสิ่งที่ถือเป็นนวัตกรรมที่ล้ำมากของเครื่อง Inbody คือ เราสามารถรู้ได้เลยว่า ในร่างกายของเราไขมันสะสมในจุดไหนมากที่สุด เพื่อที่จะทำให้เราดูแลสุขภาพได้อย่างตรงจุด
แต่จุดสำคัญที่สุดของการเข้ารับบริการ เครื่อง Inbody คือจะต้องหาคลินิกที่มีแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญในการอ่านค่าจากเครื่อง Inbody และวางแผนการลดไขมันเราได้อย่างตรงจุด ซึ่งรมย์รวินท์คลินิก ให้บริการดูแลได้อย่างครอบคลุม เพราะเรามีเทคโนโลยีที่ทันสมัย อาทิเช่น เครื่อง Inbody แพทย์เฉพาะทางที่สามารถวิเคราะห์ผลลัพธ์ และวางแผนลดไขมันได้อย่างตรงจุด อีกทั้งเรายังมีนวัตกรรมลดไขมันที่มีมาตรฐาน ปลอดภัย มีการบริการระดับพรีเมี่ยม ครบจบในที่เดียว ใครสนใจสามารถทักมาปรึกาาได้เลย
Q and A ของ Inbody ที่คนอยากรู้มากที่สุด
Q Inbody มีความแม่นยำแค่ไหน ?
A : Inbody มีความแม่นยำสูง เพราะใช้กระแสไฟฟ้าความถี่ต่ำในการวัด โดยไม่มีการประมาณค่าและแยกการวัดแต่ละส่วนของร่างกาย (Segmental Analysis)
Q ใครบ้างที่ควรใช้ Inbody ?
A : Inbody เหมาะสำหรับทุกคนที่ต้องการดูแลสุขภาพ เช่น
• ผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก
• นักกีฬาที่ต้องการพัฒนากล้ามเนื้อ
• ผู้ที่สนใจตรวจสุขภาพเบื้องต้น
Q การตรวจวัดด้วย Inbody มีข้อจำกัดหรือไม่ ?
A : Inbody ไม่เหมาะสำหรับ
• ผู้ที่มีเครื่องกระตุ้นหัวใจ (Pacemaker)
• หญิงตั้งครรภ์
• ผู้ที่มีโลหะในร่างกาย เช่น แผ่นเหล็กดามกระดูก
Q ต้องเตรียมตัวอย่างไรก่อนตรวจด้วย Inbody ?
A :
1.หลีกเลี่ยงการทานอาหารหรือดื่มน้ำมากใน 2 ชั่วโมงก่อนตรวจ
2.ไม่ควรออกกำลังกายหนักใน 24 ชั่วโมงก่อนตรวจ
3.ยืนเท้าเปล่าบนเครื่อง และหลีกเลี่ยงการสวมเครื่องประดับ
Q Inbody สามารถวัดอะไรได้บ้าง ?
A : Inbody สามารถวัดค่าได้หลายอย่าง เช่น
• มวลกล้ามเนื้อ (Skeletal Muscle Mass)
• ไขมันในร่างกาย (Body Fat Mass)
• ปริมาณน้ำในร่างกาย (Total Body Water)
• ไขมันในช่องท้อง (Visceral Fat Area)
• เปอร์เซ็นต์ไขมัน (Body Fat Percentage)
• อัตราการเผาผลาญพลังงานพื้นฐาน (Basal Metabolic Rate - BMR)
Q ทำไมต้องวัดด้วย Inbody แทนการชั่งน้ำหนักปกติ ?
A : การชั่งน้ำหนักปกติบอกเพียงน้ำหนักรวม แต่ Inbody ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับองค์ประกอบร่างกาย เช่น สัดส่วนกล้ามเนื้อ ไขมัน และน้ำในร่างกาย ซึ่งช่วยวางแผนดูแลสุขภาพได้แม่นยำกว่า
Q ค่าที่ได้จาก Inbody ใช้ทำอะไรได้บ้าง?
A : ค่าที่ได้จาก Inbody ใช้สำหรับ
• วางแผนการออกกำลังกาย
• ปรับโภชนาการให้เหมาะสม
• ติดตามความเปลี่ยนแปลงของสุขภาพ
Q Inbody ใช้เวลาในการตรวจนานเท่าไร ?
A : การตรวจด้วย InBody ใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที และสามารถทราบผลได้ทันที
Q ควรตรวจ Inbody บ่อยแค่ไหนจึงจะเหมาะสม ?
A : แนะนำให้ตรวจทุก 1-2 เดือนเพื่อวัดผลและติดตามความเปลี่ยนแปลง
Q ผลตรวจ InBody มีความสำคัญอย่างไร ?
A : ช่วยให้ทราบสุขภาพองค์รวม ทั้งด้านโภชนาการ การออกกำลังกาย และความเสี่ยงของโรค เช่น โรคอ้วน เบาหวาน และโรคหัวใจ