romrawin

กดสิวกับฉีดสิว มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันอย่างไร อะไรดีกว่ากันนะ

กดสิว

กดสิว กับฉีดสิว ต่างกันอย่างไร อะไรดีกว่ากัน
ใครที่มีสิวแล้วลังเลว่า ควรจะทำยังไงกับเจ้าสิวเม็ดเป้งนี้ว่าจะ กดสิว หรือ ฉีดสิว ดีกว่ากัน บทความนี้เราจะอธิบายเกี่ยวกับประเภทของสิวว่าแบบไหนควรกดสิว หรือฉีดสิว แล้วจะทำให้สิวหายดีกว่ากัน

รวมทุกหัวข้อเกี่ยวกับการกดสิวและฉีดสิว
• สิวเกิดจากอะไร
• สิวแต่ละประเภทต่างกันยังไง
• กดสิวคืออะไร
• ฉีดสิวคืออะไร
• สิวแบบไหนเหมาะกับการกดสิว
• สิวแบบไหนเหมาะกับการฉีดสิว
• กดสิวต่างจากฉีดสิวอย่างไรบ้าง
• ข้อดีและข้อควรระวังของการกดสิว
• ข้อดีและข้อควรระวังของการฉีดสิว
• กดสิวที่บ้านปลอดภัยหรือเสี่ยงกว่าเดิม
• ทำไมกดสิวแล้วสิวอักเสบกว่าเดิม
• กดสิวแล้วรูขุมขนกว้างจริงหรือไม่
• กดสิวที่ไหนดี ควรเลือกยังไงให้ปลอดภัย
• เทคนิคดูแลสิวหลังการกดสิวเพื่อไม่ให้เกิดรอย
• สรุปทุกเรื่องเกี่ยวกับกดสิวและฉีดสิว

สิวเกิดจากอะไร
สิว (Acne) จะมีหลากหลายประเภทด้วยกัน แต่สาเหตุหลักๆ ของการเกิดสิว จะมีสาเหตุหลักๆ ของการเกิดสิวดังนี้

1.สิวเกิดจากการอุดตันของรูขุมขน
ผิวหนังของเรามีรูขุมขนที่เชื่อมต่อกับต่อมไขมัน (Sebaceous gland) ซึ่งผลิตน้ำมันธรรมชาติที่เรียกว่า "ซีบัม" (Sebum) เพื่อช่วยหล่อลื่นผิวและปกป้องผิวไม่ให้แห้ง แต่เมื่อรูขุมขนมีการผลิตซีบัมมากเกินไป หรือเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วไม่ได้หลุดออกตามปกติ จะเกิดการอุดตันในรูขุมขนจนเกิดเป็น สิวอุดตัน (Comedone)

2.สิวเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย P.acnes
เมื่อรูขุมขนอุดตัน เชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า Propionibacterium acnes (P.acnes) ซึ่งอาศัยอยู่บนผิวหนังตามปกติ จะเริ่มเพิ่มจำนวนในบริเวณที่อุดตัน ทำให้เกิดการอักเสบ จนนำไปสู่การเกิด สิวอักเสบ (Inflammatory Acne) เช่น สิวหัวหนอง หรือสิวหัวช้าง

3.สิวเกิดจากฮอร์โมน
ฮอร์โมน โดยเฉพาะ ฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) มีบทบาทสำคัญในวัยรุ่นและวัยหนุ่มสาว เพราะมันกระตุ้นการผลิตซีบัมมากขึ้น นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงมีประจำเดือน หรือการตั้งครรภ์ ก็เป็นอีกปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดสิวได้

4.สิวเกิดจากพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม
• การล้างหน้ามากเกินไปหรือไม่สะอาดพอ อาจกระตุ้นให้ผิวผลิตน้ำมันมากขึ้น
• การใช้เครื่องสำอางหรือผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่ไม่เหมาะสม เช่น มีส่วนผสมที่อุดตันรูขุมขน (Comedogenic)
• ความเครียด ที่ทำให้ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง
• การรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูง หรืออาหารที่กระตุ้นให้เกิดสิว เช่น นมวัว ช็อกโกแลต

5.สิวเกิดจากพันธุกรรม
หากคุณพ่อคุณแม่เคยมีปัญหาสิวมาก่อน เราก็มีโอกาสที่จะเกิดสิวได้ง่ายขึ้น เนื่องจากลักษณะการผลิตซีบัมและโครงสร้างรูขุมขนสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้

สิวแต่ละประเภทต่างกันยังไง
ก่อนที่เราจะทำการรักษาไม่ว่าจะเป็นการกดสิว หรือฉีดสิว เราต้องสังเกตก่อนว่าสิวที่ขึ้นบนใบหน้าเราเป็นสิวประเภทไหน จะได้ทำการรักษาได้อย่างถูกวิธี

1.สิวอุดตัน (Comedonal Acne)
สิวอุดตันเกิดจากการอุดตันของรูขุมขนด้วยเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วและน้ำมัน (ซีบัม) ที่ผลิตออกมามากเกินไป สิวอุดตันจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อย ได้แก่

สิวหัวขาว (Whiteheads) เกิดจากการอุดตันที่อยู่ใต้ผิวหนัง ทำให้ดูเป็นตุ่มเล็กๆ สีขาว ไม่มีการอักเสบ
• สิวหัวดำ (Blackheads) เกิดจากการอุดตันที่เปิดรูขุมขนออก ทำให้น้ำมันสัมผัสกับอากาศและเปลี่ยนเป็นสีดำ

2.สิวอักเสบ (Inflammatory Acne)
สิวอักเสบเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย P.acnes ในรูขุมขนที่อุดตัน ทำให้เกิดอาการบวมแดง และเจ็บปวด ซึ่งสิวอักเสบจะแบ่งออกเป็น

• สิวตุ่มแดง (Papules) ตุ่มแดงที่ไม่มีหัวหนอง
• สิวหัวหนอง (Pustules) สิวที่มีหัวสีขาวหรือเหลือง ซึ่งเกิดจากการสะสมของหนอง
• สิวหัวช้าง (Nodules) ก้อนสิวขนาดใหญ่ ลึกใต้ผิวหนัง มีอาการเจ็บปวดมาก
• สิวซีสต์ (Cystic Acne) สิวอักเสบรุนแรง มีลักษณะเป็นถุงหนองใต้ผิวหนัง มักทิ้งรอยแผลเป็นถ้าไม่รักษา

3.สิวเสี้ยน (Keratin Acne)
สิวเสี้ยนคือสิวอุดตันขนาดเล็กที่มักพบบริเวณจมูก มีลักษณะเป็นจุดเล็กๆ สีขาวหรือดำ เกิดจากการสะสมของเซลล์ผิวหนังและซีบัม

4.สิวฮอร์โมน (Hormonal Acne)
สิวที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่น ในช่วงวัยรุ่น ประจำเดือน การตั้งครรภ์ หรือความเครียด มักขึ้นบริเวณคาง แนวกราม และลำคอ

5.สิวผด (Heat Acne)
สิวผดมักเป็นตุ่มเล็กๆ ไม่อักเสบ เกิดจากการระคายเคือง ความร้อน หรือความชื้น

6.สิวสเตียรอยด์ (Steroid Acne)
สิวที่เกิดจากการใช้ครีมที่มีสเตียรอยด์ หรือยาสเตียรอยด์แบบรับประทาน มักมีลักษณะเป็นตุ่มแดงหรือหนองเล็กๆ กระจายทั่วผิว

7.สิวจากการแพ้ (Allergic Acne)
สิวที่เกิดจากการแพ้เครื่องสำอางหรือผลิตภัณฑ์บำรุงผิว มีลักษณะเป็นผื่นแดงหรือสิวอักเสบ

กดสิวคืออะไร
การกดสิวเป็นกระบวนการทางผิวหนังที่ช่วยขจัดสิวอุดตัน (Comedone) หรือสิวที่มีการสะสมของน้ำมัน (ซีบัม) และเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วในรูขุมขน โดยการกดสิวจะใช้เครื่องมือ หรือวิธีเฉพาะในการกดสิวเพื่อที่จะดันเอาสิ่งที่อุดตันอยู่ภายในรูขุมขนออกมา ซึ่งช่วยลดการอักเสบและป้องกันไม่ให้สิวลุกลามไปยังบริเวณอื่น

หลักการของการกดสิวที่ถูกต้อง
1.เปิดรูขุมขนอย่างเหมาะสมในการกดสิว
การกดสิวที่ถูกต้องต้องทำในขณะที่รูขุมขนเปิดอยู่ เพื่อลดแรงกดและลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของผิวหนังในการกดสิว

2.ใช้เครื่องมือที่สะอาดและปลอดเชื้อในการกดสิว
เพื่อป้องกันการติดเชื้อและลดการอักเสบในการกดสิว

3.เลือกกดสิวเฉพาะสิวที่ "พร้อม" เท่านั้น
หมายถึงสิวที่สุกหรือสิวอุดตันที่สามารถหลุดออกมาได้ง่าย การกดสิวที่ยังไม่สุกอาจทำให้เกิดปัญหาลุกลามได้ อาจะทำให้สิวอุดตันใต้ผิวหนังหนักกว่าเดิม

ขั้นตอนการกดสิวที่ไม่ทำให้สิวอักเสบหนักกว่าเดิม
1.การเตรียมผิวก่อนกดสิว
• ล้างหน้าให้สะอาดก่อนกดสิว  ใช้ผลิตภัณฑ์ล้างหน้าที่เหมาะกับสภาพผิวเพื่อขจัดคราบสกปรก น้ำมัน และแบคทีเรีย
• อบไอน้ำหรือใช้ผ้าขนหนูอุ่นก่อนกดสิว  วางผ้าขนหนูอุ่นๆ บนใบหน้า 5-10 นาที หรืออบไอน้ำเพื่อเปิดรูขุมขน ทำให้สิวหลุดออกง่ายขึ้น
• ฆ่าเชื้อบริเวณผิวที่จะทำการกดสิว  ใช้แอลกอฮอล์เช็ดบริเวณที่ต้องการกดสิวเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ

2.การเตรียมเครื่องมือในการกดสิว
• ใช้เครื่องมือกดสิว (Comedone Extractor)  เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาเฉพาะ มีลักษณะเป็นห่วงโลหะสำหรับกดสิว
• ฆ่าเชื้อเครื่องมือที่จะทำการกดสิว  ทำความสะอาดเครื่องมือที่จะใช้กดสิวด้วยแอลกอฮอล์ 70% หรือฆ่าเชื้อด้วยน้ำเดือด

3.การกดสิวอย่างถูกวิธี
1.กำหนดตำแหน่งสิวในการกดสิว  ดูว่าสิวเป็นประเภทหัวดำหรือหัวขาว เพื่อเลือกแรงกดสิวที่เหมาะสม

2.ใช้อุปกรณ์กดสิวให้ถูกวิธี
- วางห่วงของเครื่องมือรอบหัวสิว
- ใช้แรงกดเบาๆ และสม่ำเสมอบริเวณโดยรอบ ไม่ดันแรงลงตรงกลางสิวเพียงจุดเดียว

3.หยุดกดสิวหากสิวไม่หลุดออกมา
หากกดแล้วสิวไม่ออก แสดงว่าสิวยังไม่พร้อม ไม่ควรใช้แรงกดสิวหนักกว่าเดิม เพราะอาจทำให้บริเวณที่กดสิวบวมแดงหรืออักเสบได้

4.ทำความสะอาดระหว่างการกดสิว
ใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์เช็ดบริเวณที่กดแล้ว เพื่อขจัดน้ำมันหรือสิ่งสกปรก

การกดสิวเป็นวิธีการรักษาสิวอุดตันที่ได้ผล หากทำอย่างถูกวิธีและโดยแพทย์ เช่น แพทย์ผิวหนังหรือผู้ดูแลผิวที่ผ่านการอบรม แต่ถ้าหากกดสิวเอง ควรระมัดระวังและปฏิบัติตามขั้นตอนอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาผิวในระยะยาว

ฉีดสิวคืออะไร
การฉีดสิว (Corticosteroid Injection หรือ Intralesional Steroid Injection) เป็นวิธีการรักษาสิวโดยการใช้ยาฉีดประเภทสเตียรอยด์ (Steroid) หรือยาต้านการอักเสบเฉพาะที่เข้าไปในบริเวณหัวสิวโดยตรง เพื่อช่วยลดการอักเสบและบวมของสิว โดยเฉพาะสิวที่มีลักษณะรุนแรง

จุดประสงค์ของการฉีดสิว
• ลดการอักเสบของสิว ยาสเตียรอยด์ช่วยลดอาการอักเสบและบวมของสิวในเวลาอันสั้น
• ลดความเจ็บปวด สิวอักเสบขนาดใหญ่ที่มีอาการเจ็บหรือปวดมากจะมีอาการดีขึ้นอย่างรวดเร็วหลังการฉีด
• ป้องกันการเกิดรอยแผลเป็น การฉีดสิวช่วยลดโอกาสการเกิดรอยหลุมสิวหรือรอยดำที่อาจเกิดจากการอักเสบรุนแรง

ขั้นตอนการฉีดสิว
1.การประเมินโดยแพทย์
• แพทย์ผิวหนังจะตรวจดูว่าสิวประเภทใดเหมาะสมกับการฉีดสิว เช่น สิวหัวหนอง สิวหัวช้าง หรือสิวซีสต์
• สิวที่ยังไม่เหมาะกับการฉีดสิว เช่น สิวผดหรือสิวหัวดำ จะไม่สามารถรักษาด้วยวิธีนี้ได้

2.เตรียมผิวก่อนฉีดสิว
• ทำความสะอาดบริเวณสิวด้วยแอลกอฮอล์หรือยาฆ่าเชื้อ
• แพทย์จะใช้เข็มขนาดเล็กฉีดยาเฉพาะที่เข้าสู่บริเวณหัวสิว

3.การฉีดยา
• ใช้ยาสเตียรอยด์ เช่น Triamcinolone Acetonide (Kenacort) ในปริมาณที่เหมาะสม โดยยาจะทำงานลดการอักเสบของเนื้อเยื่อภายในบริเวณหัวสิว
• ขั้นตอนนี้ใช้เวลาไม่นานและผู้ป่วยมักไม่รู้สึกเจ็บมาก เนื่องจากใช้เข็มขนาดเล็ก

4.การดูแลหลังการฉีดสิว
• แพทย์อาจให้คำแนะนำเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณที่ฉีดสิว
• ในบางกรณีอาจมีรอยแดงหรือจุดเล็กๆ จากเข็ม แต่จะหายไปเองในเวลาไม่นาน

สิวแบบไหนเหมาะกับการกดสิว
การกดสิวเป็นวิธีการกำจัดสิวอุดตันอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยเฉพาะสิวที่มีลักษณะเฉพาะซึ่งสามารถหลุดออกได้ง่ายเมื่อใช้วิธีที่ถูกต้อง แต่ไม่ใช่สิวทุกชนิดที่เหมาะสำหรับการกดสิว เพราะหากกดสิวผิดประเภทหรือผิดวิธี อาจทำให้เกิดการอักเสบ รอยแผลเป็น หรือการติดเชื้อได้

สิวประเภทไหนที่เหมาะกับการกดสิว
1.สิวหัวดำ (Blackheads) เป็นสิวที่เหมาะกับการกดสิว
• ลักษณะ  เป็นสิวอุดตันเปิด (Open Comedone) ที่มีหัวสีดำ มักเกิดบริเวณจมูก คาง และหน้าผาก
• เกิดจากการสะสมของน้ำมัน (ซีบัม) และเซลล์ผิวที่ตายแล้วในรูขุมขน โดยเมื่อสัมผัสกับอากาศ หัวสิวจะเกิดการออกซิเดชันจนกลายเป็นสีดำ
• เหมาะกับการกดสิวเพราะว่า  สิวหัวดำมักมีหัวที่เปิด ทำให้หลุดออกได้ง่ายเมื่อกดด้วยแรงที่เหมาะสม

2.สิวหัวขาว (Whiteheads)  เป็นสิวที่เหมาะกับการกดสิว
• ลักษณะ  เป็นสิวอุดตันปิด (Closed Comedone) มีลักษณะเป็นตุ่มเล็กๆ สีขาวใต้ผิวหนัง
• เกิดจากการอุดตันของรูขุมขนด้วยน้ำมันและเซลล์ผิวที่ไม่สามารถระบายออกสู่ผิวหนังชั้นนอก
• แม้จะเป็นสิวที่อุดตันใต้ผิว แต่ถ้าสุกหรือใกล้หลุด จะสามารถดันออกมาได้อย่างปลอดภัย สามารถกดสิวให้หลุดออกมาได้

3.สิวอุดตันที่ไม่อักเสบ (Non-Inflammatory Acne)  เป็นสิวที่เหมาะกับการกดสิว
• ลักษณะ สิวที่ไม่มีอาการแดง บวม หรือเจ็บ มักเป็นสิวที่ไม่มีแบคทีเรียเข้ามาเกี่ยวข้อง
• การกดสิว ช่วยขจัดสิ่งอุดตันออกจากรูขุมขน ก่อนที่สิวจะกลายเป็นสิวอักเสบ

สิวประเภทไหนที่ไม่เหมาะกับการกดสิว
1.สิวอักเสบ (Inflammatory Acne) ไม่เหมาะกับการกดสิว
• ตัวอย่าง สิวหัวหนอง (Pustules), สิวหัวช้าง (Nodules), สิวซีสต์ (Cysts)
• สิวอักเสบมีการติดเชื้อและเนื้อเยื่อรอบข้างบวมแดง การกดสิวอักเสบอาจทำให้เชื้อแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อรอบๆ และทำให้อาการแย่ลง เช่น เกิดการอักเสบรุนแรง รอยแผลเป็น หรือหลุมสิว

2.สิวผด (Heat Acne) ไม่เหมาะกับการกดสิว
• เป็นตุ่มเล็กๆ ไม่มีหัว มักเกิดจากความร้อนหรือการระคายเคือง
• สิวผดไม่ได้เกิดจากการอุดตันของรูขุมขน ดังนั้นการกดสิวจะไม่ช่วยให้สิวหาย แต่อาจทำให้ผิวเกิดการระคายเคืองมากขึ้น

3.สิวที่ยังไม่สุกหรือสิวลึกใต้ผิว (Deep or Unripe Acne) ไม่เหมาะกับการกดสิว 
• สิวที่อยู่ลึกใต้ผิวหนัง มีลักษณะเป็นก้อนแข็งเล็กๆ ไม่มีหัวชัดเจน
• สิวยังไม่พร้อมที่จะหลุดออกมา การกดสิวประเภทนี้จะใช้แรงมากและอาจทำให้เกิดการอักเสบหรือบวมช้ำ

การประเมินว่าสิวเหมาะสำหรับการกดสิวหรือไม่มีดังนี้
1.ตรวจลักษณะของสิวก่อนกดสิว
• สิวหัวเปิด (หัวดำ) และสิวที่มีหัวปิด (หัวขาว) ที่อยู่ใกล้ชั้นผิวหนังเหมาะสม
• สิวอักเสบหรือสิวลึกใต้ผิวไม่ควรกดสิว

2.ตรวจดูความสุกของสิว
• สิวที่พร้อมหลุดมักจะไม่เจ็บเมื่อกดเบาๆ
• หากสิวยังแข็งและกดแล้วเจ็บ แสดงว่าสิวไม่พร้อม ควรรอให้สุกก่อนถึงจะสามารถกดสิวได้

3.ขนาดของสิว
• สิวเม็ดเล็กหรือขนาดกลางเหมาะสำหรับการกดสิว
• สิวที่มีขนาดใหญ่มาก เช่น สิวซีสต์ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรักษา

สิวแบบไหนเหมาะกับการฉีดสิว
การฉีดสิวเป็นวิธีการรักษาสิวที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะสำหรับสิวที่มีอาการอักเสบรุนแรง ซึ่งวิธีนี้ช่วยลดการอักเสบ บวมแดง และความเจ็บปวดของสิวในระยะเวลาอันสั้น อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่สิวทุกชนิดที่เหมาะกับการฉีดสิว เรามาดูกันว่าสิวประเภทไหนที่เหมาะกับการฉีดสิวบ้าง

1.สิวอักเสบ (Inflammatory Acne)
• สิวที่มีอาการบวมแดง บางครั้งอาจมีหนองร่วมด้วย เช่น สิวหัวหนอง (Pustules)
• การฉีดสิวช่วยลดอาการอักเสบและบวมในบริเวณที่ติดเชื้อ ทำให้สิวลดลงภายในเวลา 24-48 ชั่วโมง

2.สิวหัวช้าง (Nodules)
• สิวอักเสบขนาดใหญ่ มีลักษณะเป็นก้อนแข็งอยู่ใต้ผิวหนัง ไม่มีหัวชัดเจน มักเจ็บปวด
• สิวหัวช้างมักเป็นสิวลึกที่รักษาด้วยยาทาหรือยารับประทานได้ยาก การฉีดสเตียรอยด์จะช่วยลดการอักเสบและความเจ็บปวดได้อย่างรวดเร็ว

3.สิวซีสต์ (Cystic Acne)
• สิวที่มีลักษณะเป็นก้อนใหญ่ เต็มไปด้วยหนองหรือของเหลวใต้ผิวหนัง มีการอักเสบรุนแรง
• สิวซีสต์เป็นสิวอักเสบรุนแรงที่เสี่ยงต่อการเกิดรอยแผลเป็น การฉีดสิวช่วยลดอาการบวมและป้องกันการแตกของสิวที่อาจทำให้เกิดแผลหลุม

4.สิวอักเสบเรื้อรังที่ไม่ตอบสนองต่อยาทา
• สิวอักเสบที่ใช้ยาทาหรือยาปฏิชีวนะแบบทั่วไปแล้วไม่ดีขึ้น
• การฉีดยาสเตียรอยด์ช่วยแก้ปัญหาเฉพาะจุดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5.สิวที่ต้องการให้ยุบแบบเร่งด่วน (Emergency Acne Treatment)
• สิวอักเสบขนาดใหญ่ที่ขึ้นในตำแหน่งที่มองเห็นชัด เช่น ใบหน้า และมีอาการเจ็บ หรือสิวที่เกิดขึ้นก่อนโอกาสสำคัญ เช่น งานแต่ง งานสัมภาษณ์ หรือการถ่ายภาพ
• การฉีดสิวช่วยลดขนาดของสิวและความบวมแดงได้ทันเวลา

สิวประเภทที่ไม่เหมาะกับการฉีดสิว
1.สิวอุดตัน (Comedonal Acne)
• สิวหัวดำหรือสิวหัวขาวที่ไม่มีการอักเสบ
• การฉีดสิวไม่ได้ช่วยขจัดสิ่งอุดตันในรูขุมขน

2.สิวผด (Heat Acne)
• ตุ่มเล็กๆ ไม่มีหัว มักเกิดจากความร้อนหรือการระคายเคือง
• สิวผดไม่ได้เกิดจากการอักเสบ การฉีดสิวจึงไม่มีผล

3.สิวขนาดเล็กทั่วไป (Small Papules)
• สิวอักเสบขนาดเล็กที่ไม่มีอาการเจ็บปวดมาก
• สิวขนาดเล็กสามารถหายได้เองหรือใช้ยาทาก็เพียงพอ

กดสิวต่างจากฉีดสิวอย่างไรบ้าง
กดสิว เหมาะสำหรับสิวอุดตัน เช่น สิวหัวดำและหัวขาว โดยช่วยจัดการสิวที่สะสมในรูขุมขนได้ทันที แต่ต้องทำด้วยความระมัดระวังเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดรอยแผลเป็นหลังจากกดสิวแล้ว
ฉีดสิว เหมาะสำหรับสิวอักเสบที่รุนแรง เช่น สิวหัวช้างหรือซีสต์ โดยช่วยลดอาการอักเสบและป้องกันการเกิดแผลเป็นในระยะยาว ทั้งนี้ต้องทำโดยแพทย์เพื่อความปลอดภัยสูงสุด

เปรียบเทียบระหว่าง "กดสิว" กับ "ฉีดสิว"

หัวข้อเปรียบเทียบ

กดสิว

ฉีดสิว

วัตถุประสงค์

ขจัดสิวอุดตัน (หัวดำ/หัวขาว) ออกจากรูขุมขน

ลดการอักเสบ บวมแดง และเจ็บปวดของสิวอักเสบ

ประเภทสิวที่เหมาะสม

- สิวหัวดำ (Blackheads)
- สิวหัวขาว (Whiteheads)
- สิวอุดตันที่ไม่อักเสบ

- สิวอักเสบ (Pustules)
- สิวหัวช้าง (Nodules)
- สิวซีสต์ (Cysts)

ขั้นตอนการทำ

ใช้เครื่องมือกดสิวหรือมือ (พร้อมความสะอาด) เพื่อดันสิวออกจากรูขุมขน

ใช้เข็มฉีดยาขนาดเล็ก ฉีดสเตียรอยด์เข้าสู่บริเวณหัวสิวที่อักเสบ

ระยะเวลาเห็นผล

เห็นผลทันที (สิวอุดตันถูกดันออก)

ลดการอักเสบและบวมใน 24-48 ชั่วโมง

อุปกรณ์ที่ใช้

เครื่องมือกดสิว (Comedone Extractor) หรือเครื่องมือที่ออกแบบมาเฉพาะ

เข็มฉีดยาและยาสเตียรอยด์ เช่น Triamcinolone Acetonide

เหมาะสำหรับ

- ผู้ที่มีสิวอุดตันทั่วไป
- ผู้ที่ต้องการจัดการสิวแบบเร่งด่วน

- ผู้ที่มีสิวอักเสบรุนแรง
- ผู้ที่ต้องการลดอาการเจ็บและบวมของสิวในระยะสั้น

ระยะเวลาในการทำ

ประมาณ 10-20 นาที ขึ้นอยู่กับจำนวนสิวที่ทำการกดสิว

ประมาณ 5-10 นาทีต่อการฉีดสิวหนึ่งจุด

ความเจ็บปวด

เจ็บเล็กน้อยถึงปานกลาง ขึ้นอยู่กับตำแหน่งและขนาดของสิวที่กดสิว

เจ็บเล็กน้อยขณะฉีด

ค่าใช้จ่าย

ปานกลางถึงต่ำ (ขึ้นอยู่กับจำนวนสิวและสถานที่ที่ทำ)

ปานกลางถึงสูง (ขึ้นอยู่กับจำนวนสิวและยาที่ใช้ฉีด)

ความชำนาญที่ต้องการ

สามารถทำเองได้ (แต่แนะนำให้แพทย์ทำเพื่อความปลอดภัย)

ต้องทำโดยแพทย์ผิวหนังเท่านั้น

ข้อดีและข้อควรระวังของการกดสิว
การกดสิวเป็นวิธีการจัดการสิวอุดตันที่ได้รับความนิยม โดยเฉพาะสำหรับสิวหัวดำและสิวหัวขาวที่ต้องการกำจัดสิ่งอุดตันในรูขุมขน

การกดสิวจำเป็นต้องทำอย่างถูกต้องและระมัดระวัง เพื่อป้องกันปัญหาผิวที่อาจตามมาได้

ข้อดีของการกดสิว
1.การกดสิวจัดการสิวอุดตันได้อย่างรวดเร็ว
การกดสิวช่วยดันเอาสิ่งที่อุดตัน เช่น น้ำมันส่วนเกิน (ซีบัม) และเซลล์ผิวที่ตายแล้ว ออกจากรูขุมขนได้ทันที ทำให้ผิวบริเวณนั้นสะอาดขึ้น

2.การกดสิวลดความเสี่ยงของการเกิดสิวอักเสบ
สิวอุดตันที่ไม่ได้รับการกำจัดออก อาจกลายเป็นสิวอักเสบเมื่อเชื้อแบคทีเรีย (P.acnes) เข้ามาสะสม การกดสิวช่วยลดโอกาสการเกิดสิวอักเสบในอนาคต

3.การกดสิวช่วยปรับสภาพผิวให้เรียบเนียน
เมื่อกำจัดสิวอุดตันออก ผิวหน้าจะดูสะอาดและเรียบเนียนมากขึ้น

4.การกดสิวเป็นขั้นตอนเสริมในการรักษาสิวโดยแพทย์
การกดสิวสามารถใช้ร่วมกับการรักษาอื่นๆ เช่น การทายา การทำทรีตเมนต์ หรือเลเซอร์ เพื่อเสริมผลลัพธ์การรักษา

5.การกดสิวเห็นผลทันทีหลังทำ
สิวที่ถูกกดออกจะหายไปทันที ต่างจากการใช้ยาทาที่ต้องใช้เวลาหลายวันกว่าสิวจะหลุดออกเอง

ข้อควรระวังของการกดสิว
1.การเกิดรอยแดงหรือรอยช้ำ
หากใช้แรงกดสิวมากเกินไป อาจทำให้ผิวบริเวณรอบๆ เกิดรอยแดงหรือรอยช้ำ ซึ่งต้องใช้เวลาหลายวันกว่าจะหาย

2.เสี่ยงต่อการติดเชื้อ
หากอุปกรณ์หรือผิวหนังไม่ได้รับการทำความสะอาดอย่างเหมาะสม การกดสิวอาจทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ผิวและก่อให้เกิดสิวอักเสบหรือติดเชื้อรุนแรง

3.รอยแผลเป็นหรือหลุมสิว
การกดสิวที่ไม่ถูกต้อง หรือการกดสิวที่ไม่เหมาะสม เช่น สิวอักเสบหรือสิวลึกใต้ผิวหนัง อาจทำให้เกิดรอยแผลเป็นถาวรหรือหลุมสิว

4.รูขุมขนกว้างขึ้น
การกดสิวด้วยแรงที่มากเกินไปอาจทำให้รูขุมขนบริเวณนั้นขยายตัวและดูใหญ่ขึ้น

5.ไม่เหมาะกับสิวทุกประเภท
สิวบางประเภท เช่น สิวอักเสบ สิวหัวช้าง หรือสิวซีสต์ ไม่เหมาะกับการกด เพราะอาจทำให้อาการแย่ลง

6.อาจทำให้สิวเพิ่มขึ้น
หากกดสิวไม่หมดหรือทำให้สิ่งอุดตันหลุดกระจายไปในรูขุมขนรอบๆ อาจกระตุ้นให้เกิดสิวใหม่ในบริเวณนั้น

7.เจ็บปวดระหว่างการกดสิว
การกดสิวบางครั้งอาจทำให้รู้สึกเจ็บ โดยเฉพาะสิวที่อยู่ลึกหรือยังไม่พร้อมหลุด

ข้อดีและข้อควรระวังของการฉีดสิว
การฉีดสิวเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสิวอักเสบรุนแรง เช่น สิวหัวช้างหรือสิวซีสต์ โดยการใช้ยาสเตียรอยด์ชนิดเฉพาะเพื่อช่วยลดการอักเสบและบวมของสิวในระยะเวลาอันสั้น แม้ว่าจะมีข้อดีที่โดดเด่น แต่ก็มีข้อควรระวังที่ควรทราบก่อนตัดสินใจใช้วิธีนี้

ข้อดีของการฉีดสิว
1.ลดการอักเสบได้รวดเร็ว
การฉีดสิวช่วยลดอาการบวมแดงและการอักเสบได้ในเวลาอันสั้น โดยเฉพาะสิวอักเสบรุนแรง เช่น สิวหัวช้างหรือสิวซีสต์ มักเริ่มเห็นผลใน 24-48 ชั่วโมง

2.บรรเทาความเจ็บปวด
สิวอักเสบขนาดใหญ่ที่เจ็บปวด เช่น สิวซีสต์ สามารถลดความเจ็บได้อย่างรวดเร็วหลังจากการฉีด

3.ลดความเสี่ยงของรอยแผลเป็น
การลดการอักเสบอย่างรวดเร็วช่วยป้องกันการแตกหรือระเบิดของสิวที่อาจทิ้งรอยแผลเป็นถาวร เช่น หลุมสิว

4.เหมาะสำหรับการรักษาเร่งด่วน
เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการผลลัพธ์เร่งด่วน เช่น ก่อนงานสำคัญหรือกิจกรรมที่ต้องใช้ความมั่นใจ

5.ไม่ต้องเจาะหรือกดสิว
การฉีดสิวช่วยลดการใช้แรงกดบริเวณผิวหนัง ทำให้ลดความเสี่ยงของการเกิดรอยช้ำหรือรูขุมขนกว้าง

6.สามารถรักษาสิวอักเสบที่ลึกใต้ผิว
สิวหัวช้างหรือสิวซีสต์ที่อยู่ลึกในผิวหนังสามารถจัดการได้โดยวิธีนี้ ซึ่งยาทาทั่วไปอาจเข้าไม่ถึง

ข้อควรระวังของการฉีดสิว
1.เสี่ยงต่อรอยบุ๋มบนผิวหนัง (Skin Atrophy)
การฉีดยาสเตียรอยด์มากเกินไปหรือฉีดผิดตำแหน่ง อาจทำให้ผิวบริเวณนั้นเกิดรอยบุ๋มชั่วคราว (หรือถาวรในบางกรณี)

2.ผิวบางหรือสีผิวเปลี่ยน
ยาสเตียรอยด์อาจทำให้ผิวบริเวณที่ฉีดบางลงหรือมีสีผิวที่จางลง เช่น รอยซีดหรือจุดขาว

3.ผลข้างเคียงของสเตียรอยด์
หากฉีดบ่อยเกินไป อาจเกิดผลกระทบต่อผิวในระยะยาว เช่น ผิวแห้งหรือบางเกินไป

4.ไม่เหมาะสำหรับสิวทุกประเภท
การฉีดสิวเหมาะกับสิวอักเสบรุนแรง เช่น สิวหัวช้างและซีสต์ แต่ไม่เหมาะกับสิวทั่วไป เช่น สิวหัวดำ สิวหัวขาว หรือสิวผด

5.จำเป็นต้องทำโดยแพทย์
การฉีดสิวต้องดำเนินการโดยแพทย์ผิวหนังหรือแพทย์ที่มีประสบการณ์เท่านั้น เพื่อความปลอดภัยและลดความเสี่ยงของผลข้างเคียง

6.อาจไม่ใช่การแก้ปัญหาระยะยาว
การฉีดสิวช่วยลดการอักเสบเฉพาะจุดได้ แต่ไม่ได้แก้ไขต้นเหตุของสิว เช่น การผลิตน้ำมันส่วนเกิน หรือฮอร์โมนผิดปกติ

7.มีค่าใช้จ่ายสูง
การฉีดสิวในคลินิกอาจมีราคาสูง โดยเฉพาะหากต้องฉีดหลายครั้ง

8.อาจมีการแพ้ยาหรือผลข้างเคียงอื่น
ในบางกรณีอาจเกิดอาการแพ้ต่อยาที่ใช้ฉีด หรือมีผลข้างเคียง เช่น บริเวณที่ฉีดบวมแดงหรือระคายเคือง

กดสิวที่บ้านปลอดภัยหรือเสี่ยงกว่าเดิม
จริงๆ แล้ว การกดสิวที่บ้านสามารถทำได้ แต่ว่าการกดสิวที่บ้านมีความเสี่ยงสูงหากทำผิดวิธีหรือใช้อุปกรณ์ที่ไม่สะอาด ข้อดีของการกดสิวที่บ้าน คือสามารถขจัดสิวอุดตันได้ทันทีหากทำอย่างถูกต้อง แต่ว่า ข้อเสีย คือเสี่ยงต่อการติดเชื้อ การอักเสบ รอยแผลเป็น หรือรูขุมขนกว้าง หากกดสิวแรงเกินไปหรือสิวยังไม่พร้อมหลุด

คำแนะนำในการกดสิวที่บ้าน
• ใช้เครื่องมือกดสิวที่สะอาดและผ่านการฆ่าเชื้อ
• ล้างหน้าก่อนกด และกดเฉพาะสิวหัวดำหรือหัวขาวที่สุกแล้ว
• หลีกเลี่ยงการใช้นิ้วมือหรือกดสิวอักเสบ เพราะอาจทำให้สิวลุกลาม

ทำไมกดสิวแล้วสิวอักเสบกว่าเดิม
การกดสิวแล้วสิวอักเสบกว่าเดิม มีเหตุผลหลักๆ ดังนี้

• การติดเชื้อ อุปกรณ์หรือมือไม่สะอาด ทำให้แบคทีเรียเข้าสู่รูขุมขน
• การกดผิดวิธี ใช้แรงมากเกินไป ทำให้เนื้อเยื่อเสียหายและสิ่งอุดตันดันลึกลงไป
• กดสิวไม่สุก สิวที่ไม่พร้อมหลุด อาจกระตุ้นให้เกิดการอักเสบเพิ่มขึ้น
• การสัมผัสซ้ำ สัมผัสสิวหลังการกด อาจนำเชื้อโรคเข้าสู่ผิว

การกดสิวจึงควรใช้เครื่องมือสะอาด เลือกสิวที่เหมาะสม และดูแลหลังการกดสิวด้วยยาฆ่าเชื้อเพื่อลดการอักเสบของสิว

กดสิวแล้วรูขุมขนกว้างจริงหรือไม่
การกดสิว อาจทำให้รูขุมขนกว้างขึ้น ได้ หากทำผิดวิธีหรือใช้แรงกดสิวที่มากเกินไป เนื่องจากการกดสิวที่รุนแรงอาจทำให้เนื้อเยื่อรอบรูขุมขนเสียหายหรือเกิดการยืดตัวของผิวมากเกินไป นอกจากนี้ หากกดสิวซ้ำๆ บริเวณเดิม ก็อาจทำให้รูขุมขนขยายตัวอย่างถาวร

การป้องกันรูขุมขนกว้างหลังการกดสิว
• ใช้แรงกดสิวที่เบาและเหมาะสม
• กดเฉพาะสิวที่สุกและพร้อมหลุด
• ประคบเย็นหลังการกดเพื่อช่วยกระชับรูขุมขน

กดสิวที่ไหนดี ควรเลือกยังไงให้ปลอดภัย
การเลือกสถานที่กดสิวเป็นสิ่งสำคัญเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาเช่น การติดเชื้อ การอักเสบ หรือรอยแผลเป็น เรามีทริคการเลือกที่กดสิวให้ปลอดภัยมาฝากกัน

คุณสมบัติของสถานที่กดสิวที่ปลอดภัย
1.แพทย์มีความชำนาญในการกดสิว
ควรเลือกสถานที่ที่มีแพทย์ผิวหนังหรือแพทย์ด้านผิวพรรณที่ผ่านการฝึกอบรม เช่น คลินิกความงามหรือสถานพยาบาลที่ได้มาตรฐาน

2.อุปกรณ์สะอาดและปลอดเชื้อ
ตรวจสอบว่าสถานที่นั้นใช้อุปกรณ์ที่ผ่านการฆ่าเชื้ออย่างถูกต้อง เช่น เครื่องมือกดสิวที่สะอาด และมีการเปลี่ยนชุดอุปกรณ์ทุกครั้ง

3.สถานที่ได้รับการรับรอง
เลือกสถานที่ที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงสาธารณสุข

4.กระบวนการทำงานเป็นระบบ
ดูว่ามีขั้นตอนการดูแลผิวที่ครบถ้วน เช่น การทำความสะอาดผิว การเปิดรูขุมขน การกดสิว และการดูแลหลังการกดสิว

5.มีรีวิวหรือความน่าเชื่อถือ
อ่านรีวิวหรือสอบถามความคิดเห็นจากคนที่เคยใช้บริการ เพื่อตรวจสอบคุณภาพว่าบริการดีหรือไม่ กดสิวแล้วสิวหายจริงไหม

เทคนิคดูแลสิวหลังการกดสิวเพื่อไม่ให้เกิดรอย
หลังการกดสิว การดูแลผิวอย่างถูกวิธีเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อป้องกันการอักเสบ การติดเชื้อ และลดโอกาสการเกิดรอยดำหรือหลุมสิว

เทคนิคการดูแลตัวเองหลังการกดสิว
• ล้างหน้าอย่างอ่อนโยน ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีแอลกอฮอล์/น้ำหอม
• ฆ่าเชื้อผิว เช็ดบริเวณกดสิวด้วยน้ำเกลือหรือโทนเนอร์ที่เหมาะสม
• ทายาลดการอักเสบ ใช้ยาฆ่าเชื้อ เช่น Benzoyl Peroxide หรือ Clindamycin
• ประคบเย็น ลดอาการบวมแดง 10-15 นาที
• หลีกเลี่ยงการแตะหรือแกะสิว ป้องกันการติดเชื้อและรอยหลุม
• ใช้ครีมสมานแผล เลือกครีมที่มี Aloe Vera, Niacinamide หรือ Centella Asiatica
• ทาครีมกันแดด ป้องกันรอยดำจากแสงแดด ด้วย SPF 30+
• งดใช้ผลิตภัณฑ์รุนแรง เลี่ยงสครับหรือกรดผลัดเซลล์ผิวที่แรง
• ใช้แผ่นซับสิว ป้องกันสิ่งสกปรกและช่วยสมานแผล
• พักผ่อนเพียงพอ ดื่มน้ำและนอนหลับให้พอเพื่อฟื้นฟูผิวเร็วขึ้น

สรุปทุกเรื่องเกี่ยวกับกดสิวและฉีดสิว
การรักษาสิวด้วยการกดสิว หรือการฉีดสิว จะต้องดูว่าสิวที่ขึ้นมาจะต้องรักษาด้วยวิธีไหนถึงจะตอบโจทย์มากที่สุด เพราะถ้าสิวที่ขึ้นมาไม่เหมาะกับการกดสิว แต่เรารักษาด้วยวิธีกดสิว อาจทำให้สิวนั้นอักเสบกว่าเดิมได้ ทางที่ดีของปรึกษาแพทย์ Specialist ในการรักษาสิว ทางรมย์รวินท์คลินิก มีแพทย์ที่พร้อมดูแลคนไข้เกี่ยวกับปัญหาผิว ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสิวหรือผิวหมองคล้ำ ใครที่ต้องการรักษาหรือปรึกษาแพทย์ก่อน สามารถนัดปรึกษาเราได้เลย เพื่อแก้ปัญหาผิวหน้าให้กลับมาแข็งแรงอีกครั้ง

* ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับเฉพาะบุคคล
* เงื่อนไขตามบริษัทฯ กำหนด
เรื่อง โปรแกรมดูแลผิวหน้า ที่คุณอาจสนใจ