romrawin

ดูดไขมัน คืออะไร มีกี่ประเภท อันตรายหรือไม่ มีข้อดีข้อเสียอย่างไร

ดูดไขมัน

ดูดไขมันคืออะไร มีกี่ประเภท เปรียบเทียบเทคนิคยอดนิยม
ใครที่กำลังสนใจวิธีลดความอ้วนหรือสนใจในการลดความอ้วน ด้วยการดูดไขมัน ห้ามพลาดกับบทความนี้ ที่จะอธิบายครบจบในทุกมิติของการดูดไขมัน ช่วยประกอบการตัดสินใจในการดูดไขมันได้ง่ายขึ้น

รวมทุกเรื่องเกี่ยวกับการดูดไขมัน
• ดูดไขมันคืออะไร เข้าใจหลักการของการดูดไขมัน
• ดูดไขมันถือว่าเป็นการผ่าตัดหรือไม่
• ดูดไขมันปลอดภัยหรือไม่
• ดูดไขมันมีกี่ประเภท
• เปรียบเทียบเทคนิคดูดไขมันยอดนิยม
• ตำแหน่งยอดนิยมของการดูดไขมัน
• ใครเหมาะกับการดูดไขมันบ้าง
• ใครควรหลีกเลี่ยงการดูดไขมัน
• ประโยชน์ของการดูดไขมัน
• ความเสี่ยงของการดูดไขมัน
• การเตรียมตัวก่อนดูดไขมัน
• การฟื้นฟูตัวเองหลังดูดไขมัน
• เลือกคลินิกดูดไขมันยังไงดี
• ดูดไขมันแล้วผิวจะย้วยหรือไม่
• ดูดไขมันแล้วต้องออกกำลังกายไหม
• สรุปทุกเรื่องเกี่ยวกับการดูดไขมัน

ดูดไขมันคืออะไร เข้าใจหลักการของการดูดไขมัน
การดูดไขมัน (Liposuction) เป็นเทคนิคทางการแพทย์ที่ช่วยกำจัดไขมันสะสมเฉพาะจุดที่กำจัดได้ยากด้วยการออกกำลังกายหรือควบคุมอาหาร โดยใช้เครื่องมือพิเศษในการดูดไขมันออกจากร่างกาย เพื่อปรับรูปร่างให้ดูสมส่วนมากขึ้น

แต่หลายคนชอบเข้าใจผิดว่าการดูดไขมันคือการลดน้ำหนัก จริงๆแล้วการดูดไขมันไม่ใช่การลดน้ำหนักหรือวิธีลดน้ำหนัก และการดูดไขมันไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อลดตัวเลขบนตราชั่ง แต่เป็นการปั้นรูปร่าง (Body Contouring) ให้ได้สัดส่วนที่สมดุลขึ้น เช่นดูดไขมันเพื่อกำจัดพุงส่วนล่าง เอวหาย ต้นขาเรียว หรือดูดไขมันเหนียงที่ทำให้หน้าดูเรียวขึ้น

หลักการทำงานของการดูดไขมัน
การดูดไขมันทำงานบนพื้นฐานของการใช้ "พลังงาน + สูญญากาศ" เพื่อแยกและดูดเซลล์ไขมันออกจากร่างกาย ซึ่งมีเทคนิคหลักๆ ที่ใช้ ได้แก่

1.ฉีดสารละลายสลายไขมัน (Tumescent Fluid)
ก่อนดูดไขมัน ศัลยแพทย์จะฉีดของเหลวพิเศษที่มีสารทำให้เส้นเลือดหดตัว (Epinephrine) และยาชาเข้าไปในบริเวณที่ต้องการดูดไขมัน ของเหลวนี้ช่วยทำให้ไขมันแตกตัวและลดการเสียเลือด

2.การใช้เทคนิคแยกไขมันออกจากเนื้อเยื่อรอบข้าง
• บางเทคนิคใช้แรงมือ (Manual Liposuction)
• บางเทคนิคใช้พลังงาน เช่น คลื่นเสียง (VASER), เลเซอร์ (Laser Liposuction), หรือคลื่นวิทยุ (RF Liposuction) เพื่อช่วยให้ไขมันแตกตัวง่ายขึ้น

3.ดูดไขมันออกจากร่างกาย
ศัลยแพทย์จะใช้ Cannula (ท่อเล็กๆ) ที่เชื่อมกับเครื่องดูดสุญญากาศ ค่อยๆ ดูดไขมันออกมา โดยเลือกทิศทางการดูดให้รูปร่างออกมาสวยงาม ไม่เป็นคลื่นหรือเป็นหลุม

4.กระชับผิวและป้องกันความหย่อนคล้อย
เทคนิคสมัยใหม่ เช่น VASER, BodyTite และ J-Plasma สามารถช่วยกระชับผิวไปพร้อมกับการดูดไขมัน ทำให้โอกาสที่ผิวจะหย่อนคล้อยหลังทำลดลง

ดูดไขมันถือว่าเป็นการผ่าตัดหรือไม่
การดูดไขมัน (Liposuction) ถูกจัดเป็น "หัตถการศัลยกรรม" มากกว่าการผ่าตัดใหญ่ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นหัตถการที่ไม่มีความเสี่ยง หรือสามารถทำได้โดยไม่ต้องมีผู้เชี่ยวชาญในการดูดไขมัน

ดูดไขมันไม่เท่ากับผ่าตัดใหญ่ (Major Surgery)
การผ่าตัดใหญ่ เช่น การตัดอวัยวะ หรืองานศัลยกรรมที่ต้องมีการ กรีดขนาดใหญ่ และเย็บปิดแผลอย่างซับซ้อน ซึ่งต่างจากการดูดไขมันที่

• ใช้เพียง "แผลเล็กๆ" (ประมาณ 3-5 มิลลิเมตร) สำหรับสอดท่อดูดไขมัน (Cannula)
• ดูดไขมันไม่มีการตัดเนื้อเยื่อ หรืออวัยวะออกจากร่างกาย
• ดูดไขมันไม่จำเป็นต้องดมยาสลบ (ยกเว้นในกรณีที่ดูดไขมันปริมาณมาก)

ดังนั้น ในเชิงการแพทย์ การดูดไขมันถือเป็น "ศัลยกรรมเล็ก" (Minor Surgery) หรือ "การผ่าตัดแบบมีบาดแผลเล็ก" (Minimally Invasive Surgery) ไม่ใช่การผ่าตัดใหญ่

ทำไมดูดไขมันถึงถูกเรียกว่าเป็นการศัลยกรรม
ถึงแม้การดูดไขมันจะไม่ใช่การผ่าตัดใหญ่ แต่การดูดไขมันยังคงถูกจัดเป็น "ศัลยกรรมความงาม" เพราะ

• ต้องทำโดยศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
• มีการใช้เทคนิคการดูดไขมันที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
• ต้องมีการวางแผนก่อนทำและการดูแลหลังดูดไขมันอย่างละเอียด

ดูดไขมันปลอดภัยหรือไม่
"การดูดไขมันปลอดภัยหรือไม่" เป็นคำถามที่หลายคนกังวล และเป็นสิ่งที่ควรศึกษาให้ละเอียดก่อนตัดสินใจทำ การดูดไขมันเป็นหัตถการทางการแพทย์ที่มีความปลอดภัยสูง หากทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และเลือกสถานพยาบาลที่ได้มาตรฐาน

แต่สุดท้ายแล้ว ไม่มีหัตถการใดในโลกที่ปลอดภัย 100% แต่ ความเสี่ยงของการดูดไขมันสามารถลดลงได้อย่างมาก หากมีการเตรียมตัวที่ดีและเข้ารับบริการการดูดไขมันกับแพทย์เฉพาะทางที่เชี่ยวชาญและเลือกคลินิกที่ปลอดภัย

ดูดไขมันมีกี่ประเภท
การดูดไขมัน (Liposuction) ในปัจจุบันมีหลายเทคนิคที่ถูกพัฒนาให้มีความปลอดภัยและให้ผลลัพธ์ที่ชัดเจนมากขึ้น แต่ละประเภทมีจุดเด่นและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถแบ่งการดูดไขมันออกเป็น 5 ประเภทหลัก ตามเทคนิคที่ใช้ในการสลายไขมันหรือวิธีการสลายไขมันก่อนดูดไขมันออก

1.ดูดไขมันแบบดั้งเดิม (Tumescent Liposuction)
เป็นเทคนิคที่ใช้กันมานานและยังคงเป็นมาตรฐานในการดูดไขมัน

• ก่อนดูดไขมัน แพทย์จะฉีดน้ำเกลือที่ผสมยาชาและยา Epinephrine (ช่วยให้เส้นเลือดหดตัว ลดการเสียเลือด) ลงไปในบริเวณที่ต้องการดูดไขมัน
• ของเหลวนี้ช่วยให้ไขมันแตกตัวและลดอาการช้ำ
• จากนั้นใช้ท่อดูดไขมัน (Cannula) ดูดไขมันออกมา
• ไม่มีการใช้พลังงานพิเศษในการช่วยสลายไขมัน

2.ดูดไขมันด้วยคลื่นเสียง (VASER Liposuction)
ดูดไขมันแบบ VASER (Vibration Amplification of Sound Energy at Resonance) เป็นเทคนิคที่ใช้ คลื่นเสียงอัลตราซาวด์ ในการสลายไขมันก่อนดูดไขมันออก

• คลื่นเสียงจะทำให้ไขมันแตกตัวเป็นอณูเล็กๆ คล้ายกับการละลายไขมัน
• ลดผลกระทบต่อเนื้อเยื่อรอบข้าง ทำให้มีอาการบวมน้อยกว่าวิธีดั้งเดิม
• ช่วยกระชับผิวได้ดีขึ้น

3.ดูดไขมันด้วยเลเซอร์ (Laser Liposuction)
เทคนิคดูดไขมันนี้ใช้ พลังงานแสงเลเซอร์ ในการเผาผลาญไขมันให้กลายเป็นของเหลวก่อนดูดออก

• สามารถช่วยให้ผิวหดตัวและกระชับขึ้นได้เล็กน้อย
• มีโอกาสเกิดรอยไหม้ใต้ผิวหนัง หากใช้พลังงานมากเกินไป

4.ดูดไขมันด้วยพลังน้ำ (Water Jet Liposuction)
เทคนิคดูดไขมันนี้ใช้แรงดันน้ำช่วยแยกเซลล์ไขมันออกจากเนื้อเยื่อรอบข้าง ทำให้การดูดไขมันออกง่ายขึ้น

• ไม่ทำลายเนื้อเยื่ออื่น เช่น เส้นเลือด หรือเส้นประสาทมากเกินไป
• ฟื้นตัวเร็ว เพราะการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อมีน้อย
• เหมาะกับการนำไขมันไปเติมเต็มส่วนอื่นของร่างกาย เช่น เติมไขมันหน้า อก หรือก้น

5.ดูดไขมันด้วยคลื่นวิทยุ (RF-Assisted Liposuction)
เทคนิคดูดไขมันนี้ใช้พลังงาน คลื่นวิทยุ (Radio Frequency – RF) ทำให้ไขมันแตกตัวและช่วยกระชับผิวไปพร้อมกัน

• เหมาะกับคนที่มีปัญหาผิวหย่อนคล้อย
• เทคโนโลยีที่ได้รับความนิยม ได้แก่ BodyTite และ J-Plasma

เปรียบเทียบเทคนิคการดูดไขมันยอดนิยม

ประเภท

วิธีการทำงาน

ข้อดี

ข้อจำกัด

Tumescent Liposuction

ฉีดสารละลายก่อนดูดไขมันออก

ปลอดภัย มาตรฐาน

อาจบวมและช้ำมากกว่าวิธีอื่น

VASER Liposuction

ใช้คลื่นเสียงสลายไขมัน

ลดอาการบวม ฟื้นตัวเร็ว

ราคาสูง ต้องใช้แพทย์ที่มีประสบการณ์

Laser Liposuction

ใช้เลเซอร์สลายไขมัน

กระชับผิวได้ดีขึ้น

เสี่ยงผิวไหม้หากใช้ผิดวิธี

Water Jet Liposuction

ใช้น้ำแรงดันสูงแยกไขมัน

อ่อนโยน ฟื้นตัวเร็ว

ไม่เหมาะกับการดูดไขมันปริมาณมาก

RF-Assisted Liposuction

ใช้คลื่นวิทยุกระชับผิว

เหมาะกับคนที่มีผิวหย่อน

ราคาสูง ต้องการเวลาฟื้นตัว

ตำแหน่งยอดนิยมของการดูดไขมัน
การดูดไขมันสามารถทำได้หลายตำแหน่งในร่างกาย โดยส่วนใหญ่เป็นบริเวณที่มีไขมันสะสมแล้วลงได้ยากมาก ตำแหน่งที่ได้รับความนิยมสูงสุดในการดูดไขมัน ได้แก่

1.ดูดไขมันหน้าท้องและเอว
เป็นบริเวณยอดนิยมอันดับหนึ่ง เพราะเป็นจุดที่มีไขมันสะสมได้ง่าย และเป็นส่วนที่หลายคนต้องการให้ดูแบนราบและมีเอวคอด

• ช่วยปรับรูปร่างให้ดูสมส่วน
• เหมาะสำหรับผู้ที่มีไขมันหน้าท้องสะสม แต่ไม่ต้องการผ่าตัดกระชับหน้าท้อง
• สามารถทำร่วมกับเทคนิคกระชับผิว เช่น VASER หรือ BodyTite เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

2.ดูดไขมันต้นขา
ต้นขาเป็นอีกหนึ่งจุดที่ไขมันสะสมได้ง่าย โดยเฉพาะ ต้นขาด้านในและต้นขาด้านนอก

• การดูดไขมันต้นขาช่วยให้ขาดูเรียวขึ้น
• ลดปัญหาขาเบียดที่ทำให้เดินแล้วเกิดการเสียดสี
• ช่วยให้ขาเล็กลง ทำให้ใส่เสื้อผ้าแล้วดูดีขึ้น

3.ดูดไขมันต้นแขน
เป็นบริเวณที่ได้รับความนิยมในหมู่ผู้หญิงที่ต้องการแขนเรียวเล็ก และลดอาการแขนใหญ่หรือแขนล่ำ

• ช่วยให้ต้นแขนกระชับขึ้น
• ลดไขมันส่วนเกินที่ทำให้แขนดูไม่กระชับ
• เหมาะกับคนที่ไม่อยากใช้วิธีผ่าตัดกระชับต้นแขน

4.ดูดไขมันเหนียงและคางสองชั้น
บริเวณใต้คางหรือเหนียง เป็นอีกจุดที่ได้รับความนิยมในการดูดไขมันมาก โดยเฉพาะในผู้ที่ต้องการใบหน้าดูเรียวขึ้น

• ช่วยลดไขมันใต้คาง ทำให้คอและแนวกรามชัดขึ้น
• เหมาะกับผู้ที่มีคางสองชั้นจากไขมันสะสม
• สามารถทำร่วมกับเทคนิคกระชับผิว เช่น J-Plasma เพื่อป้องกันผิวหย่อนคล้อย

5.ดูดไขมันปีกหลังและแผ่นหลัง
ดูดไขมันปีกหลัง (Bra Roll) และแผ่นหลังเป็นบริเวณที่หลายคนไม่ค่อยนึกถึง แต่เป็นจุดที่มีไขมันสะสมได้ง่าย โดยเฉพาะในผู้หญิงที่ใส่เสื้อชั้นในแล้วเกิดรอยปลิ้น
• ช่วยลดไขมันที่ทำให้เกิดรอยปลิ้นบริเวณสายเสื้อชั้นใน
• ทำให้หลังดูเรียบเนียนขึ้น
• เพิ่มความมั่นใจในการใส่เสื้อผ้าแบบรัดรูป

6.ดูดไขมันสะโพกและก้น
เป็นบริเวณที่นิยมดูดไขมันเพื่อให้ได้รูปร่างที่สมส่วน โดยบางคนอาจดูดไขมันสะโพกเพื่อให้ดูเรียวลง หรือบางคนอาจดูดไขมันออกเพื่อนำไปเติมก้นให้ดูเด้งขึ้น (Fat Transfer)
• ช่วยให้สะโพกดูเข้ารูป ไม่เป็นก้อน
• ปรับสัดส่วนให้ดูสมดุลกับร่างกาย
• สามารถทำร่วมกับการเติมไขมันเพื่อให้ได้ทรงที่สวยงาม

7.ดูดไขมันหน้าอก (สำหรับผู้ชาย)
ในผู้ชายบางคนมีภาวะ Gynecomastia หรือภาวะเต้านมโตผิดปกติ ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยการดูดไขมัน
• ช่วยลดขนาดหน้าอกให้ดูแบนราบขึ้น
• เพิ่มความมั่นใจในการใส่เสื้อผ้า
• สามารถทำร่วมกับการกระชับผิวเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

8.ดูดไขมันน่อง
แม้จะไม่ใช่บริเวณที่นิยมมากที่สุด แต่ก็มีบางคนที่มีปัญหาน่องใหญ่จากไขมันสะสมค่อนข้างเยอะ และลดยากมาก
• ช่วยให้ขาดูเรียวยาวขึ้น
• ปรับสมดุลของขากับร่างกาย

ใครเหมาะกับการดูดไขมันบ้าง
การดูดไขมันเหมาะสำหรับผู้ที่มีไขมันสะสมเฉพาะจุดและต้องการแก้ไขรูปร่างให้ดูดีขึ้น

คนที่เหมาะกับการดูดไขมัน
• คนที่มีไขมันส่วนเกินเฉพาะจุดที่ลดได้ยาก แม้ออกกำลังกายหรือควบคุมอาหาร เช่น
- หน้าท้องและเอว
- ต้นขา
- ต้นแขน
- เหนียงใต้คาง
- ปีกหลัง
- สะโพกและก้น

• คนที่มีน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ปกติ หรือเกินมาตรฐานเล็กน้อย
- ไม่ใช่คนที่ต้องการลดน้ำหนัก 10-20 กิโล
- มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ไม่เกิน 30

• คนที่มีผิวหนังยืดหยุ่นดี
- ผิวสามารถกระชับตัวเองได้หลังดูดไขมัน
- หากผิวหย่อนคล้อยมาก อาจต้องทำร่วมกับการกระชับผิว เช่น BodyTite หรือ J-Plasma

• คนที่ต้องการปรับรูปร่างให้ดูดีขึ้น แต่ไม่มีเวลาลดไขมันด้วยวิธีธรรมชาติ
- ต้องการเห็นผลเร็ว
- ไม่มีเวลาควบคุมอาหารหรือออกกำลังกายเข้มข้น

• ผู้หญิงหลังคลอดที่ต้องการลดไขมันสะสม
- มีไขมันสะสมบริเวณหน้าท้องและเอว
- ควรรอให้ร่างกายฟื้นตัวอย่างน้อย 6 เดือนหลังคลอด

• ผู้ชายที่ต้องการกำจัดไขมันเฉพาะจุด
- มีไขมันสะสมที่หน้าท้องและเอว
- มีไขมันสะสมที่หน้าอก (Gynecomastia)
- ต้องการให้รูปร่างดูเฟิร์มขึ้น

• คนที่ต้องการนำไขมันไปเติมเต็มส่วนอื่นของร่างกาย (Fat Transfer)
- เติมไขมันใบหน้า เพื่อให้ดูอ่อนเยาว์
- เติมไขมันหน้าอก หรือก้น เพื่อเพิ่มวอลลุ่ม

• คนที่มีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัวรุนแรง
- ไม่มีโรคหัวใจ เบาหวาน หรือปัญหาการแข็งตัวของเลือด
- ไม่มีปัญหาภูมิคุ้มกันบกพร่อง

ใครควรหลีกเลี่ยงการดูดไขมัน
• คนที่ไม่เหมาะกับการดูดไขมันคือคนที่ต้องการลดน้ำหนักจำนวนมาก (มากกว่า 10-20 กิโลกรัม)
• คนที่มีโรคประจำตัวที่เสี่ยงต่อการผ่าตัด เช่น โรคหัวใจรุนแรง, เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้
• คนที่มีผิวหนังหย่อนคล้อยมากเกินไป จนอาจต้องผ่าตัดกระชับผิวแทน

ประโยชน์ของการดูดไขมัน
• ประโยชน์ของการดูดไขมันช่วยปรับรูปร่างให้สมส่วน
กำจัดไขมันเฉพาะจุด เช่น หน้าท้อง ต้นขา ต้นแขน เหนียง

• ประโยชน์ของการดูดไขมันช่วยเพิ่มความมั่นใจ
ทำให้บุคลิกภาพดีขึ้น ใส่เสื้อผ้าได้สวยขึ้น

• ช่วยลดไขมันที่ออกกำลังกายแล้วไม่ลด
กำจัดไขมันดื้อที่ลดได้ยาก

• ใช้ไขมันเติมเต็มส่วนอื่น
เช่น ใบหน้า หน้าอก หรือสะโพก

• ประโยชน์ของการดูดไขมันเห็นผลเร็ว
รูปร่างเปลี่ยนแปลงชัดเจนภายใน 1-3 เดือน

ความเสี่ยงของการดูดไขมัน
• บวม ช้ำ และปวด อาการปกติหลังดูดไขมัน มักหายภายใน 2-3 สัปดาห์
• ติดเชื้อ หากสถานที่รับบริการดูดไขมันไม่สะอาด หรือดูแลแผลไม่ดี
• เสียเลือดมาก หากดูดไขมันในปริมาณมากเกินไป
• ผิวไม่เรียบ ผิวเป็นคลื่น เกิดจากการดูดไขมันไม่สม่ำเสมอ หรือผิวไม่กระชับ
• ไขมันอุดตันในกระแสเลือด (Fat Embolism) กรณีไขมันเข้าสู่กระแสเลือด (พบได้น้อย)
• ภาวะแทรกซ้อนจากยาชา อาจเกิดอาการแพ้ หรือได้รับยามากเกินไป
• ผิวหย่อนคล้อย หากดูดไขมันมากแต่ผิวไม่ยืดหยุ่นดี
• เกิดพังผืดหรือแผลเป็นใต้ผิวหนัง หากร่างกายมีปฏิกิริยาต่อการรักษาแผล
• ไขมันกลับมาใหม่ หากไม่ควบคุมอาหารและออกกำลังกายหลังดูดไขมัน

การเตรียมตัวก่อนดูดไขมัน
• ปรึกษาแพทย์
ตรวจสุขภาพ ประเมินความเหมาะสม และเลือกเทคนิคดูดไขมันที่เหมาะกับร่างกาย

• งดยาบางชนิด
หยุดยาและอาหารเสริมที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด เช่น แอสไพริน วิตามินอี

• งดสูบบุหรี่และแอลกอฮอล์
อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนทำ เพื่อลดความเสี่ยงในการสมานแผล

• ควบคุมอาหาร
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง

• ดื่มน้ำให้เพียงพอ
เตรียมร่างกายให้พร้อม ลดความเสี่ยงจากภาวะขาดน้ำ

• เตรียมเสื้อผ้าและอุปกรณ์หลังดูดไขมัน
เช่น ชุดกระชับสัดส่วน หมอนรองตัว และยาตามแพทย์สั่ง

• จัดตารางพักฟื้น
วางแผนหยุดงานหรือกิจกรรมหนักๆ อย่างน้อย 3-7 วัน

• เตรียมคนดูแล
กรณีดูดไขมันหลายจุด อาจต้องมีผู้ช่วยในวันแรกหลังดูดไขมัน

การฟื้นฟูตัวเองหลังดูดไขมัน
• ใส่ชุดกระชับสัดส่วน
หลังดูดไขมันอย่างน้อย 4-6 สัปดาห์ เพื่อลดบวมและช่วยให้ผิวกระชับ

• พักผ่อนให้เพียงพอ
หลีกเลี่ยงกิจกรรมหนักๆ ในช่วง 1-2 สัปดาห์แรกหลังดูดไขมัน

• ดื่มน้ำมากๆ
ช่วยลดบวมและขับของเสียออกจากร่างกาย

• หลีกเลี่ยงอาหารเค็มและแอลกอฮอล์
เพื่อลดการบวมน้ำ

• งดออกกำลังกายหนัก
อย่างน้อย 4 สัปดาห์ แต่สามารถเดินเบาๆ กระตุ้นการไหลเวียนเลือด

• ทำแผลให้สะอาด
ป้องกันการติดเชื้อ และเปลี่ยนผ้าพันแผลตามคำแนะนำแพทย์

• งดยาและอาหารเสริมที่ส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือด
เช่น แอสไพริน วิตามินอี ในช่วงแรก

• หลีกเลี่ยงความร้อนจัด
เช่น ซาวน่า อาบน้ำร้อน หรือตากแดดจัดในช่วงแรก

• นวดกระตุ้นระบบน้ำเหลือง
ตามคำแนะนำแพทย์ เพื่อลดอาการบวมและให้ผิวเรียบเนียน

• ติดตามผลกับแพทย์
เข้าพบแพทย์ตามนัดเพื่อตรวจเช็กและดูแลแผล

เลือกคลินิกดูดไขมันยังไงดี
• แพทย์ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ
ควรเป็นศัลยแพทย์เฉพาะทาง มีประสบการณ์ด้านการดูดไขมันโดยตรง

• คลินิกต้องได้รับอนุญาตถูกต้อง
ตรวจสอบว่าได้รับการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุข

• ดูรีวิวจากผู้ใช้จริง
อ่านรีวิวจากแหล่งที่เชื่อถือได้ และดูผลลัพธ์ของผู้ที่เคยทำมาก่อน

• ใช้เทคโนโลยีที่ปลอดภัยและทันสมัย
เช่น VASER, BodyTite, J-Plasma ซึ่งช่วยให้ผลลัพธ์ดีขึ้น

• มีอุปกรณ์และเครื่องมือที่ได้มาตรฐาน
คลินิกต้องมีห้องผ่าตัดปลอดเชื้อ และมีเครื่องมือช่วยชีวิตในกรณีฉุกเฉิน

• ให้คำปรึกษาอย่างละเอียด
แพทย์ควรตรวจร่างกาย และอธิบายความเสี่ยงและขั้นตอนอย่างชัดเจน

• มีทีมแพทย์และพยาบาลดูแลหลังทำ
มีบริการติดตามอาการ และให้คำแนะนำหลังดูดไขมัน

• ไม่เลือกเพราะราคาถูกเกินไป
ควรพิจารณาคุณภาพมากกว่าราคา เพราะความปลอดภัยสำคัญที่สุด

ดูดไขมันแล้วผิวจะย้วยหรือไม่
ขึ้นอยู่กับ สภาพผิวเดิม ปริมาณไขมันที่ดูดออก และเทคนิคที่ใช้ หากผิวมีความยืดหยุ่นดี โอกาสย้วยต่ำ แต่ถ้าดูดไขมันมากเกินไป หรือผิวเดิมหย่อนคล้อยอยู่แล้ว อาจเกิดปัญหาผิวเหี่ยวได้

วิธีป้องกันผิวหย่อนหลังดูดไขมัน
• เลือกเทคนิคที่ช่วยกระชับผิว เช่น VASER, BodyTite, J-Plasma
• ใส่ชุดกระชับสัดส่วน ตามแพทย์แนะนำ
• ออกกำลังกายและดูแลผิว หลังฟื้นตัวเพื่อให้ผิวกระชับเร็วขึ้น

ดูดไขมันแล้วต้องออกกำลังกายไหม
หลังดูดไขมันต้องออกกำลังกาย หากต้องการให้ผลลัพธ์คงอยู่ได้นาน เพราะการดูดไขมัน กำจัดไขมันเดิม แต่ไม่ป้องกันไขมันใหม่ ถ้ารับประทานอาหารไม่ระวัง ไขมันสามารถกลับมาสะสมได้

แนวทางการออกกำลังกายหลังดูดไขมัน
• 2 สัปดาห์แรก – เดินเบาๆ กระตุ้นการไหลเวียนเลือด
• หลัง 4 สัปดาห์ – เริ่มออกกำลังกายปานกลาง เช่น เวทเทรนนิ่งหรือโยคะ
• หลัง 6 สัปดาห์ขึ้นไป – ออกกำลังกายเต็มที่ คาร์ดิโอหรือเวทหนักได้ตามปกติ

สรุปทุกเรื่องเกี่ยวกับการดูดไขมัน
การดูดไขมันคือการปรับรูปร่าง ไม่ใช่การลดน้ำหนัก แต่การดูดไขมัน ช่วยกำจัดไขมันสะสมเฉพาะจุดที่ลดได้ยาก เช่น หน้าท้อง ต้นแขน ต้นขา และเหนียง เทคนิคที่ใช้มีหลายแบบ เช่น VASER, Laser, และ BodyTite ซึ่งบางเทคนิคช่วยกระชับผิวไปพร้อมกัน ผู้ที่เหมาะสมต้องมีน้ำหนักคงที่และผิวยืดหยุ่นดี หลังดูดไขมันเสร็จแล้วควรใส่ชุดกระชับ ดูแลอาหาร และออกกำลังกายเพื่อรักษาผลลัพธ์ ความเสี่ยงสามารถลดได้ด้วยการเลือกแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด

การดูดไขมันเป็นแค่ส่วนเล็กๆที่ทำให้เรามั่นใจในรูปร่างมากขึ้นแต่การดูแลรูปร่างแบบยั่งยืนที่สุดขึ้นอยู่กับอาหารที่เรารับประทานเข้าไป การดูแลตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย การดื่มน้ำและการพักผ่อนที่เพียงพอ เป็นการทำให้มีสุขภาพดีในระยะยาว

เรื่อง บทความน่ารู้ ที่คุณอาจสนใจ