สิวหัวดำ คืออะไร รู้ทันสาเหตุ พร้อมวิธีรักษาแบบเห็นผลจริงไหม
สิวหัวดำ
สิวหัวดำคืออะไร รู้ทันสาเหตุ พร้อมวิธีรักษาแบบเห็นผล
สิวหัวดำถึงแม้ไม่ได้เป็นสิวชนิดที่รุนแรง แต่ก็เป็นต้นเหตุที่ทำให้เสียความมั่นใจได้เหมือนกัน เพราะถ้าขึ้นบนใบหน้าใครก็คงอยากจะหาวิธีรักษาและอยากจะบีบออกให้หน้ากลับมาเรียบเนียนอีกครั้งแน่นอน
แต่ว่าก่อนจะจัดการกับเจ้าสิวหัวดำ เราต้องมาทำความเข้าใจก่อนว่าสิวหัวดำคืออะไร สาเหตุของการเกิดสิวหัวดำมีอะไรบ้าง เพื่อที่จะรักษาได้อย่างถูกวิธี และป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นสิวหัวดำซ้ำ ๆ
รวมทุกหัวข้อเกี่ยวกับสิวหัวดำ
- สิวหัวดำคืออะไร มีลักษณะแบบไหน
- สาเหตุของการเกิดสิวหัวดำ
- สิวหัวดำมักจะขึ้นบริเวณไหน
- ความแตกต่างของสิวหัวดำ และสิวเสี้ยนหัวดำ
- ทริครักษาสิวหัวดำให้หายขาด
- วิธีป้องกันไม่ให้เกิดสิวหัวดำอีก
- สรุปทุกเรื่องเกี่ยวกับสิวหัวดำ
- คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับสิวหัวดำ
สิวหัวดำคืออะไร มีลักษณะแบบไหน
สิวหัวดำ (Blackheads) เป็นสิวประเภทหนึ่งที่เกิดจากการอุดตันของรูขุมขน (หรือที่เรียกว่ารูเปิดของต่อมไขมัน) ภายในรูขุมขนนั้นจะมีไขมัน (ซีบัม) ซึ่งร่างกายผลิตขึ้นตามปกติจากต่อมไขมันใต้ผิวหนัง รวมกับเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว เมื่อทั้งสองสิ่งนี้รวมตัวกันและไม่สามารถระบายออกสู่ผิวหนังได้ ก็จะเกิดการอุดตันขึ้นทำให้เกิดสิวหัวดำขึ้น
สิ่งที่ทำให้ลักษณะของสิวหัวดำแตกต่างจากสิวอุดตันแบบอื่น คือการที่รูขุมขนยังคงเปิดอยู่ เมื่อไขมันที่อุดตันอยู่สัมผัสกับออกซิเจนในอากาศ จึงเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน ทำให้ไขมันนั้นเปลี่ยนเป็นสีดำ จึงเรียกว่า “สิวหัวดำ”
ลักษณะของสิวหัวดำ
• สิวหัวดำมีลักษณะเป็นตุ่มเล็กๆ สีดำบริเวณผิวหนัง
• ขนาดของสิวหัวดำมักจะเล็ก ไม่บวม ไม่แดง ไม่เจ็บ (ถ้าไม่มีการอักเสบ)
• ผิวรอบๆ ของสิวหัวดำดูเรียบหรือมีผิวไม่สม่ำเสมอเล็กน้อย
• สิวหัวดำมักพบบ่อยในบริเวณที่มีต่อมไขมันมาก เช่น จมูก คาง หน้าผาก หน้าอก และแผ่นหลัง
• สิวหัวดำสามารถพบได้ทั้งในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ โดยเฉพาะผู้ที่มีผิวมันหรือผิวผสม
ความเข้าใจผิดที่พบบ่อยของสิวหัวดำ
หลายคนเข้าใจว่าสิวหัวดำเกิดจากสิ่งสกปรกหรือไม่ล้างหน้าให้สะอาด ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ถูกต้องทั้งหมด สิวหัวดำไม่ได้เกิดจากความสกปรกภายนอกโดยตรง แต่เกิดจากกระบวนการในผิวหนังเอง และเปลี่ยนเป็นสีดำจากปฏิกิริยาทางเคมีเมื่อเจอกับอากาศ ไม่ใช่จากฝุ่นหรือสิ่งสกปรกแบบที่เราเข้าใจ
สาเหตุของการเกิดสิวหัวดำ
สิวหัวดำเกิดจาก “การอุดตันของรูขุมขน” ซึ่งเราจะเรียกสิวหัวดำนี้ว่า สิว อุดตันแบบเปิด โดยมีองค์ประกอบหลักคือไขมัน (sebum), เซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว และบางครั้งอาจมีแบคทีเรียร่วมด้วย การที่รูขุมขนเปิดและเนื้อไขมันในรูขุมขนสัมผัสกับอากาศ ทำให้เปลี่ยนเป็นสีดำจากกระบวนการออกซิเดชัน
สาเหตุของการเกิดสิวหัวดำประกอบไปด้วย 2 ปัจจัยด้วยกัน ทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก
ปัจจัยภายใน (Internal Factors) ที่ทำให้เกิดสิวหัวดำ
1.การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ทำให้เกิดสิวหัวดำ
• โดยเฉพาะฮอร์โมนแอนโดรเจน (androgen) ซึ่งกระตุ้นให้ต่อมไขมันผลิตน้ำมันมากขึ้นส่งผลให้เกิดสิวหัวดำได้ง่ายขึ้น
• พบได้มากในช่วงวัยรุ่น, รอบประจำเดือน, ช่วงตั้งครรภ์, หรือเมื่อมีความผิดปกติของฮอร์โมน
2.พันธุกรรม ปัจจัยภายในที่ทำให้เกิดสิวหัวดำ
• ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นสิวง่าย อาจมีแนวโน้มเกิดสิวหัวดำมากกว่าคนทั่วไป เนื่องจากมีต่อมไขมันที่ไวต่อฮอร์โมนหรือรูขุมขนที่อุดตันง่าย
3.ผิวมันหรือรูขุมขนกว้าง ปัจจัยภายในที่ทำให้เกิดสิวหัวดำ
• คนที่มีลักษณะผิวมันจะมีโอกาสเกิดการอุดตันได้ง่าย เพราะมีการผลิตไขมันมากกว่าปกติ
4.การผลัดเซลล์ผิวผิดปกติ ปัจจัยภายในที่ทำให้เกิดสิวหัวดำ
• ถ้าร่างกายผลัดเซลล์ผิวชั้นนอกไม่สม่ำเสมอ หรือผลัดช้า เซลล์ที่ตายแล้วจะสะสมและอุดตันรูขุมขนได้
5.ความเครียด ปัจจัยภายในที่ทำให้เกิดสิวหัวดำ
• ความเครียดกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนบางชนิด เช่น cortisol ซึ่งอาจกระตุ้นให้เกิดการผลิตไขมันเพิ่ม และมีส่วนทำให้การอักเสบของผิวแย่ลง
ปัจจัยภายนอก (External Factors) ที่ทำให้เกิดสิวหัวดำ
1.การใช้เครื่องสำอางหรือผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่ก่อให้เกิดการอุดตัน (Comedogenic) ทำให้เกิดสิวหัวดำ
• เครื่องสำอางบางชนิดมีส่วนผสมที่อุดตันรูขุมขน เช่น น้ำมันแร่ (mineral oil), ซิลิโคน, หรือแวกซ์
2.การล้างหน้าไม่สะอาดหรือบ่อยเกินไป ทำให้เกิดสิวหัวดำ
• ล้างหน้าไม่สะอาด ทำให้สิ่งสกปรกตกค้าง
• ในทางตรงข้าม ล้างหน้าบ่อยเกินไปอาจกระตุ้นให้ผิวผลิตน้ำมันมากขึ้นเพื่อตอบสนองความแห้ง
3.มลภาวะ ฝุ่น ควัน และสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดสิวหัวดำ
• สารมลพิษในอากาศสามารถเกาะติดผิวหนังและซึมเข้าสู่รูขุมขน เกิดการอุดตันได้ง่ายขึ้น
4.การใช้ยาบางชนิด ทำให้เกิดสิวหัวดำ
• เช่น ยากลุ่มสเตียรอยด์ หรือยาคุมกำเนิดบางชนิด ที่มีผลต่อระดับฮอร์โมนและกระบวนการทำงานของต่อมไขมัน
5.อาหาร ที่ทำให้เกิดสิวหัวดำ
• แม้จะยังไม่มีข้อสรุปทางวิทยาศาสตร์แน่ชัด แต่มีงานวิจัยบางส่วนระบุว่าอาหารที่มีน้ำตาลสูง, อาหารแปรรูป, และนมวัว อาจมีผลต่อฮอร์โมนและการเกิดสิว
สิวหัวดำมักจะขึ้นบริเวณไหน
สิวหัวดำสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วร่างกาย แต่จะพบได้บ่อยใน บริเวณที่มีจำนวนต่อมไขมัน (sebaceous glands) มากและมีแนวโน้มรูขุมขนอุดตันได้ง่าย ซึ่งส่วนใหญ่ที่เราจะเป็นสิวหัวดำคือบริเวณผิวหน้าหรือจุดที่มีความมันสะสมมากกว่าปกติ โดยตำแหน่งที่พบสิวหัวดำบ่อย ๆ มีดังนี้
1.สิวหัวดำที่จมูก
• เป็นบริเวณที่พบสิวหัวดำมากที่สุด
• เนื่องจากจมูกมีต่อมไขมันจำนวนมากและรูขุมขนที่ค่อนข้างกว้าง
• ไขมันส่วนเกินและเซลล์ผิวที่ตายแล้วจึงสะสมได้ง่ายทำให้เกิดสิวหัวดำ
2.สิวหัวดำที่หน้าผาก
• บริเวณหน้าผากนี้เป็นส่วนหนึ่งของ "T-zone" ซึ่งมีความมันมาก
• เหงื่อและไขมันสะสม รวมถึงเครื่องสำอางหรือผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมที่สัมผัสผิว อาจเพิ่มโอกาสในการอุดตัน ทำให้เกิดสิวหัวดำได้ง่ายๆ
3.สิวหัวดำที่คาง
• ยังอยู่ในแนว T-zone ที่มีการผลิตไขมันสูง
• มักพบในผู้ที่มีความแปรปรวนของฮอร์โมน เช่น ในช่วงมีประจำเดือน จะทำให้เกิดสิวหัวดำได้
4.สิวหัวดำที่แก้ม (บริเวณใกล้จมูก)
• แม้ไม่ใช่บริเวณที่มันมากที่สุด แต่รูขุมขนบริเวณนี้สามารถอุดตันได้ โดยเฉพาะในผู้ที่สัมผัสหน้าเป็นประจำ หรือใช้เครื่องสำอางที่มีน้ำมัน ทำให้เกิดสิวหัวดำได้
5.สิวหัวดำที่แผ่นหลัง
• โดยเฉพาะบริเวณหัวไหล่หรือกลางหลัง เนื่องจากมีต่อมไขมันขนาดใหญ่ และเหงื่อออกมาก
• การใส่เสื้อผ้ารัดแน่นหรือผ้าที่ไม่ระบายอากาศอาจทำให้เกิดการอุดตันของรูขุมขนได้ง่ายทำให้เกิดสิวหัวดำได้
6.สิวหัวดำที่หน้าอก
• พบในบางราย โดยเฉพาะผู้ที่มีผิวมัน เหงื่อออกง่าย หรือมีประวัติสิวบริเวณลำตัวจะมีสิวหัวดำขึ้นบริเวณหน้าอกได้
เหตุผลที่บริเวณเหล่านี้เกิดสิวหัวดำบ่อย
• มี ต่อมไขมันหนาแน่น และผลิตไขมันมากกว่าบริเวณอื่น
• มี รูขุมขนขนาดใหญ่ ซึ่งเปิดรับสิ่งตกค้างได้ง่าย
• สัมผัสกับ สิ่งกระตุ้นจากภายนอก บ่อย เช่น มือ, เครื่องสำอาง, ความร้อน, ฝุ่น, หรือเหงื่อ
• มักเป็นจุดที่ ล้างไม่สะอาด หรือ เกิดการเสียดสี บ่อย
ความแตกต่างของสิวหัวดำ และสิวเสี้ยนหัวดำ
แม้ทั้ง “สิวหัวดำ” และ “สิวเสี้ยนหัวดำ” จะมีลักษณะภายนอกคล้ายกัน คือเห็นเป็นจุดดำๆ บนผิว โดยเฉพาะบริเวณจมูก แต่ความจริงแล้ว ทั้งสองอย่างมีโครงสร้างทางผิวหนังและสาเหตุที่ต่างกันโดยสิ้นเชิงของ สิวหัวดำ และ สิวเสี้ยนหัวดำดังนี้
1.สิวหัวดำ (Blackheads / Open Comedones)
ลักษณะของสิวหัวดำ
• สิวหัวดำเป็น สิวอุดตันชนิดเปิด (Open Comedone)
• สิวหัวดำเกิดจาก การอุดตันของรูขุมขน โดยมีไขมัน (sebum), เศษเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว และในบางกรณีอาจมีแบคทีเรียร่วมด้วย
• เมื่อรูขุมขนยังเปิดอยู่ ไขมันที่อยู่ภายในจะสัมผัสกับอากาศและเกิด ปฏิกิริยาออกซิเดชัน ทำให้เปลี่ยนเป็นสีดำ เราจึ้งเรียกชื่อตามลักษณะที่เห็นคือ สิวหัวดำ
ลักษณะภายนอกของสิวหัวดำที่สังเกตเห็ฯได้
• สิวหัวดำเป็น ตุ่มหรือจุดสีดำขนาดเล็ก ผิวสัมผัสเรียบหรือแข็งเล็กน้อย
• สิวหัวดำมักอยู่เดี่ยวๆ ไม่เป็นกลุ่ม
• หากบีบสิวหัวดำออกมาจะเห็นเป็นหัวสิวลักษณะคล้ายเสี้ยน ยาว มีหัวดำ
• สิวหัวดำสามารถกลายเป็นสิวอักเสบได้ หากมีเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน
2.สิวเสี้ยนหัวดำ (Sebaceous Filaments / Keratin Filaments)
ลักษณะของสิวเสี้ยนหัวดำ
• สิวเสี้ยนไม่ใช่ “สิว” ตามความหมายทางการแพทย์ แต่คือ เส้นไขมันที่อยู่ในรูขุมขนตามธรรมชาติของผิว
• เกิดจากการสะสมของ ซีบัม (ไขมัน), เคราติน (โปรตีนจากเซลล์ผิวหนัง), และจุลินทรีย์ประจำถิ่นของผิว (เช่น C.acnes)
• เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการควบคุมความมันของผิว ไม่ถือว่าเป็นภาวะผิดปกติ เว้นแต่จะอุดตันจนผิดปกติ
ลักษณะภายนอกของ สิวเสี้ยนหัวดำที่สังเกตได้
• มักเห็นเป็น จุดดำหรือจุดเทาเล็กๆ หลายจุด บริเวณจมูก หน้าผาก หรือคาง
• ผิวดูไม่เรียบเนียน แต่ไม่บวมแดง ไม่อักเสบ
• เมื่อบีบออกมา จะเห็นเป็นเส้นบางๆ สีขาวหรือเทา ไม่แข็งมาก
• มักเกิดเป็น “กลุ่ม” หรือกระจายทั่วบริเวณ ไม่เป็นจุดเดี่ยวชัดเจน
สรุปความแตกต่างแบบเห็นได้ชัดของ สิวหัวดำ และสิวเสี้ยนหัวดำ
หัวข้อ |
สิวหัวดำ |
สิวเสี้ยนหัวดำ |
ลักษณะทางการแพทย์ |
สิวอุดตันชนิดเปิด |
ไม่ใช่สิว แต่เป็นเส้นไขมันธรรมชาติ |
สาเหตุหลัก |
การอุดตันของรูขุมขน |
การสะสมของไขมันและเคราตินในรูขุมขน |
ลักษณะทางกายภาพ |
จุดดำเดี่ยวๆ หัวแข็ง |
จุดดำหรือเทาจำนวนมาก กระจายตัว |
ตำแหน่งที่พบบ่อย |
จมูก คาง หน้าผาก แผ่นหลัง |
จมูก หน้าผาก คาง |
การบีบหรือดึงออก |
มีหัวสิวชัดเจน ดึงออกเป็นเสี้ยนสีดำ |
ดึงออกมาเป็นเส้นสีขาวหรือเทาอ่อน |
ความรุนแรง |
มีโอกาสลุกลามเป็นสิวอักเสบ |
โดยทั่วไปไม่อักเสบ เป็นเรื่องปกติของผิว |
• สิวหัวดำควรรักษาอย่างเหมาะสม ด้วยการทำความสะอาดผิว การใช้ผลิตภัณฑ์กลุ่ม AHA/BHA หรือเรตินอยด์ที่ช่วยผลัดเซลล์ผิว
• สิวเสี้ยนหัวดำไม่จำเป็นต้องรักษาเสมอไป หากไม่ได้สร้างปัญหา เพราะเป็นกลไกทางธรรมชาติของผิว แต่สามารถลดความเด่นชัดได้ด้วยการล้างหน้าให้สะอาดและใช้ผลิตภัณฑ์ควบคุมความมัน
ทริครักษาสิวหัวดำให้หายขาด
การรักษาสิวหัวดำให้หายขาด ขอแบ่งเป็นการรักษาใหญ่ ๆ 3 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ การปรึกษาแพทย์ผิวหนังในการรักษาสิวหัวดำ การใช้หัตถการรักษาสิวหัวดำ และการใช้ผลิตภัณฑ์ในการรักษาสิวหัวดำ
1.การปรึกษาแพทย์ผิวหนังในการรักษาสิวหัวดำ
ทำไมควรปรึกษาแพทย์
แม้ว่าสิวหัวดำดูเป็นปัญหาผิวเล็กน้อย แต่ในบางกรณีอาจมีความซับซ้อนหรือเรื้อรัง เช่น มีการอุดตันจำนวนมาก, รักษาด้วยตนเองแล้วไม่ดีขึ้น, หรือมีแนวโน้มกลายเป็นสิวอักเสบ ซึ่งควรได้รับการประเมินจากแพทย์
สิ่งที่แพทย์จะช่วยได้ในการรักษาสิวหัวดำ
• วินิจฉัยอย่างแม่นยำในการรักษาสิวหัวดำ แพทย์สามารถแยกแยะได้ว่าสิวที่เกิดขึ้นเป็นสิวหัวดำจริง หรือเป็นสิวประเภทอื่น เช่น สิวอุดตันปิด (หัวขาว), สิวอักเสบ หรือแม้แต่สิวเสี้ยน
• วางแผนการรักษาเฉพาะบุคคในการรักษาสิวหัวดำ ขึ้นอยู่กับสภาพผิว ระดับความรุนแรง และปัจจัยภายใน เช่น ฮอร์โมน หรือประวัติการแพ้ผลิตภัณฑ์
• จ่ายยาที่มีประสิทธิภาพสูงในการรักษาสิวหัวดำ เช่น
- ยากลุ่มเรตินอยด์ (Tretinoin, Adapalene)
- ยาผลัดเซลล์ผิวที่เข้มข้นกว่าทั่วไป
- ยาควบคุมฮอร์โมน (ในกรณีที่เกี่ยวข้องกับรอบเดือนหรือ PCOS)
• ติดตามผล และปรับการรักษาให้เหมาะกับผลลัพธ์ที่ได้
2.หัตถการรักษาสิวหัวดำ
หัตถการ (Dermatologic Procedures) คือการรักษาที่ทำโดยแพทย์ผิวหนัง โดยใช้เทคนิคพิเศษและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ช่วยกำจัดสิวหัวดำอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ เรามาดูกันว่าหัตถการที่แนะนำในการรักษาสิวหัวดำมีอะไรบ้าง
2.1 การกดสิว (Comedone Extraction)
• ใช้เครื่องมือปลายกลมหรือเข็มปลอดเชื้อในการเปิดหัวสิวและดันสิวออก
• เหมาะกับสิวหัวดำที่ดันออกยาก หรืออยู่ลึก
• ช่วยลดการอุดตันได้ทันทีและป้องกันการอักเสบจากการบีบสิวผิดวิธี
2.2 การทำทรีตเมนต์ผลัดเซลล์ผิว (Chemical Peeling)
• ใช้กรดอ่อนๆ เช่น Glycolic Acid, Salicylic Acid ในความเข้มข้นที่สูงกว่าผลิตภัณฑ์ทั่วไป
• ช่วยผลัดเซลล์ผิวชั้นบน กระตุ้นการผลัดผิวตามธรรมชาติ และลดสิวหัวดำ
2.3 AviClear - เลเซอร์ลดสิวแบบควบคุมต่อมไขมัน
AviClear เป็น เลเซอร์เทคโนโลยีใหม่ (FDA-approved) ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับการรักษาสิว โดยเฉพาะสิวอุดตันและสิวหัวดำ AviClear ใช้ เลเซอร์ความยาวคลื่น 1726 นาโนเมตร ที่สามารถเจาะลึกลงไปยัง ต่อมไขมัน และควบคุมการทำงานของต่อมไขมันโดยไม่ทำลายผิวชั้นบน
กลไกการทำงานในการรักษาสิวหัวดำ
• พลังงานจากเลเซอร์จะ จับกับไขมันใต้ผิว (Sebum) โดยตรง ทำให้ต่อมไขมันลดการผลิตน้ำมัน
• ลดโอกาสที่รูขุมขนจะเกิดการอุดตัน
• กระตุ้นการฟื้นฟูผิวและลดการอักเสบโดยไม่ทำให้เกิดการลอกผิว
• ไม่ใช่แค่รักษา แต่ยังช่วยลดการเกิดสิวใหม่ได้ในระยะยาว
เหมาะกับใคร
• ผู้ที่เป็นสิวหัวดำเรื้อรัง
• ผู้ที่ไม่ตอบสนองต่อการใช้ยาทาหรือยารับประทาน
• ผู้ที่ต้องการผลการรักษาที่ชัดเจนโดยไม่ใช้ยาในระยะยาว
ข้อดีของการใช้หัตถการ AviClear ในการรักษาสิวหัวดำ
• ไม่เจ็บ ไม่ต้องพักฟื้น
• ปลอดภัยแม้กับผิวแพ้ง่าย
• เห็นผลภายใน 2-3 ครั้ง
• ลดสิวหัวดำ พร้อมควบคุมความมันในระยะยาว
2.4 NU Pico - เลเซอร์พิโคเซคเคินด์สำหรับผิวที่มีปัญหาสิวและรูขุมขน
NU Pico คือชื่อทางการตลาดของเลเซอร์ประเภท Pico Laser (Picosecond Laser) ซึ่งเป็นเลเซอร์ความเร็วสูงระดับ ล้านล้านวินาที ใช้พลังงานสูงแต่ส่งพลังงานออกไปในเวลาสั้นมาก จึงมีประสิทธิภาพในการ สลายเม็ดสี ลดรอยสิว กระชับรูขุมขน และฟื้นฟูผิว โดยไม่ทำลายเนื้อเยื่อรอบข้าง
กลไกการทำงานในสิวหัวดำ
• ช่วย “ทำความสะอาดรูขุมขนจากภายใน” โดยพลังงานเลเซอร์จะ สลายสิ่งอุดตันในรูขุมขน อย่างอ่อนโยน
• กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและ กระชับรูขุมขน ทำให้ความมันลดลง
• ลดรอยดำและรอยแดงจากสิวร่วมด้วย
• ไม่มีแผลเปิด ไม่ต้องพักฟื้น
เหมาะกับใคร
• ผู้ที่มีสิวหัวดำร่วมกับรูขุมขนกว้าง
• ผู้ที่มีรอยดำ/รอยแดงจากสิว
• ผู้ที่ต้องการผิวเรียบเนียน กระจ่างใส พร้อมลดสิวหัวดำ
ข้อดีของการใช้หัตถการ NU Pico ในการรักษาสิวหัวดำ
• เหมาะกับทุกสีผิว
• เจ็บน้อย ใช้เวลาทำประมาณ 15-30 นาที
• ไม่มีแผล ไม่ต้องพักฟื้น
• ผลข้างเคียงต่ำ เหมาะกับผู้ที่ต้องการความปลอดภัย
3.การใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวในการรักษาสิวหัวดำอย่างถูกวิธี
เป้าหมายหลักของการใช้ผลิตภัณฑ์
• ลดการอุดตันของรูขุมขน
• ควบคุมการผลิตไขมันส่วนเกิน
• กระตุ้นการผลัดเซลล์ผิว
• ป้องกันไม่ให้สิวหัวดำกลับมาใหม่
กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่แนะนำในการรักษาสิวหัวดำ
ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิว (Cleanser)
• เลือกสูตรอ่อนโยน ไม่ทำให้ผิวแห้งตึง
• มีส่วนผสมของ Salicylic Acid หรือ Zinc ช่วยควบคุมความมัน
• ล้างหน้าไม่เกินวันละ 2 ครั้ง
โทนเนอร์ / เอสเซนส์ผลัดเซลล์ผิว
• ใช้โทนเนอร์ที่มี BHA หรือ AHA เป็นประจำ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์
• ช่วยเปิดรูขุมขน และลดการสะสมของเซลล์ผิว
ผลิตภัณฑ์กลุ่มเรตินอยด์ (Retinol, Adapalene)
• ช่วยลดการอุดตันและปรับสมดุลการผลัดผิว
• ควรเริ่มใช้ทีละน้อย และทากลางคืน เพราะอาจระคายเคืองต่อแสงแดด
ครีมกันแดด
• เลือกชนิด non-comedogenic (ไม่อุดตัน)
• สำคัญมากในการป้องกันรอยดำและการระคายเคืองจากการใช้สารผลัดผิว
มอยเจอร์ไรเซอร์สำหรับผิวมัน / ผิวเป็นสิว
• อย่าละเลยการให้ความชุ่มชื้น เพราะผิวขาดน้ำจะกระตุ้นให้ผลิตน้ำมันมากขึ้น
วิธีป้องกันไม่ให้เกิดสิวหัวดำอีก
ล้างหน้าอย่างถูกวิธี วันละ 2 ครั้ง
• ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดสูตรอ่อนโยน ที่ไม่มีสารอุดตันผิว (non-comedogenic)
• หลีกเลี่ยงการล้างหน้าบ่อยเกินไป เพราะอาจทำให้ผิวแห้งและกระตุ้นให้ต่อมไขมันผลิตน้ำมันมากขึ้น
ผลัดเซลล์ผิวเป็นประจำ (Exfoliation)
• ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มี AHA หรือ BHA เช่น Salicylic Acid สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง
• ช่วยลดการสะสมของเซลล์ผิวที่ตายแล้ว ซึ่งเป็นสาเหตุของการอุดตันรูขุมขน
ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ก่อให้เกิดการอุดตัน (Non-Comedogenic)
• ตรวจสอบฉลากของผลิตภัณฑ์บำรุงผิว เครื่องสำอาง และครีมกันแดด
• หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำมันหนักหรือซิลิโคนเข้มข้น
หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้าบ่อยๆ
• การจับหน้า แกะ หรือบีบสิวหัวดำบ่อยๆ จะเพิ่มการสะสมของแบคทีเรียและกระตุ้นให้เกิดสิวเพิ่ม
ควบคุมความมันของผิว
• ใช้โทนเนอร์หรือมาส์กควบคุมความมัน (เช่น Clay Mask) อย่างสม่ำเสมอ
• ให้ความชุ่มชื้นผิวอย่างเหมาะสม เพื่อไม่ให้ผิวผลิตน้ำมันมากเกิน
หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่อุดตันรูขุมขนบริเวณผมและหน้า
• เช่น ครีมนวดผม แฮร์เซรั่ม หรือผลิตภัณฑ์จัดแต่งทรงผม ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้สัมผัสผิวหน้าโดยตรง
ล้างเครื่องสำอางให้สะอาดทุกครั้งก่อนนอน
• ใช้คลีนซิ่งที่เหมาะกับผิว ควบคู่กับการล้างหน้าด้วยโฟม เพื่อไม่ให้มีคราบตกค้างอุดตันรูขุมขน
หลีกเลี่ยงมลภาวะ และความร้อนสูงเกินไป
• ฝุ่น ควัน หรือการอยู่ในที่อับร้อน อาจกระตุ้นการผลิตไขมันและเพิ่มการอุดตัน
ควบคุมอาหารบางประเภท
• หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูง อาหารแปรรูป หรือนมวัวในบางกรณี (เนื่องจากอาจมีผลต่อฮอร์โมน)
นอนหลับให้เพียงพอและลดความเครียด
• เพราะความเครียดส่งผลต่อระดับฮอร์โมน และสามารถกระตุ้นการเกิดสิวได้
ตรวจสุขภาพผิวและพบแพทย์ผิวหนังสม่ำเสมอ (ถ้ามีแนวโน้มเกิดซ้ำบ่อย)
• แพทย์สามารถประเมินและแนะนำแนวทางเฉพาะบุคคล ทั้งการใช้ยาและการทำหัตถการเพื่อป้องกันระยะยาว
สรุปทุกเรื่องเกี่ยวกับสิวหัวดำ
สิวหัวดำเกิดจากการสะสมของไขมันและเซลล์ผิวที่ตายไปแล้วอุดตันในรูขุมขน พอสัมผัสอากาศจึงทำให้เปลี่ยนเป็นสีดำ สาเหตุหลักๆของการเกิดสิวหัวดำ มาจากการเปลี่ยนเปลงของ ปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก ซึ่งการรักษาสิวหัวดำแบบได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดและหายขาด ควรมาปรึกษาแพทย์เพื่อแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด และได้ผลลัพธ์ในแบบที่เราต้องการ
“ ใครที่ยังไม่รู้ว่าจะต้องเริ่มรักษาสิวหัวดำจากอะไร สามารถทักมานัดคิวปรึกษาแพทย์ Specialist ได้ที่รมย์รวินท์คลินิกได้เลย “
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับสิวหัวดำ
1.สิวหัวดำคืออะไร?
คำตอบ สิวหัวดำ (Blackheads) คือสิวที่เกิดจากการอุดตันของรูขุมขนโดยน้ำมันส่วนเกิน เซลล์ผิวที่ตายแล้ว และแบคทีเรีย เมื่อสัมผัสกับอากาศจะเกิดการออกซิไดซ์ทำให้หัวสิวเปลี่ยนเป็นสีดำ
2.สิวหัวดำกับสิวหัวขาวต่างกันยังไง?
คำตอบ สิวหัวดำเปิดรูขุมขน ทำให้หัวสิวสัมผัสกับอากาศและกลายเป็นสีดำ ส่วนสิวหัวขาวเกิดจากรูขุมขนที่ปิดอยู่ ทำให้เห็นเป็นตุ่มสีขาว
3.สิวหัวดำเกิดจากอะไร?
คำตอบ เกิดจากน้ำมันส่วนเกิน เซลล์ผิวที่ตาย และสิ่งสกปรกอุดตันในรูขุมขน โดยเฉพาะบริเวณที่มีความมันมาก เช่น จมูก หน้าผาก และคาง
4.ล้างหน้าบ่อย ๆ จะช่วยลดสิวหัวดำไหม?
คำตอบ การล้างหน้าวันละ 2 ครั้งก็เพียงพอแล้ว ล้างบ่อยเกินไปอาจทำให้ผิวแห้งและกระตุ้นให้ผลิตน้ำมันเพิ่ม ส่งผลให้สิวเพิ่มขึ้น
5.บีบสิวหัวดำออกได้ไหม?
คำตอบ ไม่แนะนำให้บีบเอง เพราะเสี่ยงต่อการอักเสบ รอยดำ หรือเกิดแผล ควรให้แพทย์ทำ หรือใช้ผลิตภัณฑ์ช่วยดึงสิวออกอย่างถูกวิธี
6.สิวหัวดำหายเองได้ไหม?
คำตอบ บางกรณีอาจหลุดออกเอง แต่ส่วนใหญ่ต้องอาศัยการดูแลผิวหรือการใช้ผลิตภัณฑ์ช่วยละลายสิ่งอุดตันจึงจะหาย
7.ใช้มาส์กดำช่วยลดสิวหัวดำได้ไหม?
คำตอบ สามารถช่วยดึงสิ่งอุดตันออกได้บางส่วน แต่ไม่ควรใช้บ่อยเกินไป เพราะอาจทำให้ผิวระคายเคืองหรือรูขุมขนกว้างขึ้น
8.ผลิตภัณฑ์อะไรที่ช่วยรักษาสิวหัวดำได้ดี?
คำตอบ ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มี BHA (กรดซาลิไซลิก), Retinoids หรือ Clay mask เพราะช่วยละลายสิ่งอุดตันและควบคุมความมัน
9.อาหารมีผลต่อสิวหัวดำไหม ?
คำตอบ บางคนอาจมีปฏิกิริยากับอาหารมัน ของหวาน หรือผลิตภัณฑ์จากนม ทำให้เกิดสิวได้ ควรสังเกตว่าอาหารชนิดไหนกระตุ้นสิวในตัวเอง
10.ป้องกันสิวหัวดำได้อย่างไร?
คำตอบ ล้างหน้าให้สะอาด หลีกเลี่ยงการจับหน้าบ่อย ๆ ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่อุดตันรูขุมขน และอย่าลืมทาครีมกันแดดทุกวัน
* เงื่อนไขตามบริษัทฯ กำหนด