romrawin

สิวฮอร์โมน คืออะไร เจาะลึกสาเหตุพร้อมวิธีรักษาให้หายขาดได้จริงไหม

สิวฮอร์โมน

สิวฮอร์โมนคืออะไร เจาะลึกสาเหตุพร้อมวิธีรักษาให้หายขาด
เมื่อร่างกายของเราผลิตฮอรโมนบางชนิดขึ้นมามากเกินไป ที่ไปกระตุ้นการผลิตไขมันในต่อมไขมัน จะส่งผลให้ผิวของเรามันขึ้น แลรูขุมขนกว้าง ทำให้เกิดสิวฮอร์โมนได้ เรามาทำความเข้าใจต้นตอการเกิดของสิวฮอร์โฒน และวิธีรักษาสิวฮอร์โมนที่ถูกวิธี จะทำให้สิวฮอร์โมนที่เราเป็นอยู่ค่อยๆ ดีขึ้นและหายไปได้ในที่สุด

รวมทุกหัวข้อเกี่ยวกับสิวฮอร์โมน
สิวฮอร์โมนคืออะไร แยกให้ชัดจากสิวประเภทอื่น
สิวฮอร์โมนเกิดจากอะไร
ปัจจัยที่ทำให้สิวฮอร์โมนแย่ลง
สิวฮอร์โมนขึ้นบริเวณไหน ดูตำแหน่งบอกปัญหาสุขภาพ
วิธีรักษาสิวฮอร์โมนให้หายขาดอย่างปลอดภัย
ยารักษาสิวฮอร์โมนที่แพทย์แนะนำ
สกินแคร์รักษาสิวฮอร์โมน เลือกแบบไหนดี
สรุปทุกเรื่องเกี่ยวกับสิวฮอร์โมน
Q&A คำถามยอดฮิตเกี่ยวกับสิวฮอร์โมน

สิวฮอร์โมนคืออะไร? แยกให้ชัดจากสิวประเภทอื่น
สิวฮอร์โมน (Hormonal Acne) เป็นสิวที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย โดยเฉพาะฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) ซึ่งกระตุ้นการผลิตน้ำมัน (Sebum) จากต่อมไขมันมากเกินไป นำไปสู่การอุดตันของรูขุมขนและเกิดสิวในที่สุด

สิวฮอร์โมนคืออะไร
สิวฮอร์โมนเป็นสิวที่เกิดจากความไม่สมดุลของฮอร์โมน โดยเฉพาะในช่วงวัยรุ่น วัยเจริญพันธุ์ รอบเดือน หรือช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เช่น การตั้งครรภ์หรือวัยหมดประจำเดือน สิวชนิดนี้มักขึ้นบริเวณแนวกราม คาง และลำคอ ซึ่งเป็นจุดที่ไวต่อฮอร์โมนมากกว่าส่วนอื่นของใบหน้า

สิวฮอร์โมนต่างจากสิวทั่วไปอย่างไร
เรามาดูกันว่าสิวฮอร์โมนต่างจากสิวทั่วไปยังไงบ้าง เพื่อให้เราสามารถรักษาได้อย่างตรงจุด

หัวข้อเปรียบเทียบ

สิวฮอร์โมน

สิวทั่วไป

สาเหตุหลัก

การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่น ช่วงมีประจำเดือน วัยรุ่น ตั้งครรภ์

สิ่งสกปรก, การใช้ผลิตภัณฑ์ไม่เหมาะสม, การล้างหน้าไม่สะอาด

ตำแหน่งที่พบบ่อย

คาง, กราม, ลำคอ, รอบปาก

หน้าผาก, จมูก, แก้ม

ลักษณะของสิว

มักเป็นสิวอักเสบหัวแดง สิวหัวช้าง หรือสิวอุดตันแบบลึก

อาจเป็นสิวเสี้ยน สิวอุดตัน หรือสิวหัวเปิด

ช่วงเวลาที่เกิด

มักเป็นช่วงมีรอบเดือนหรือช่วงที่ฮอร์โมนแปรปรวน

สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาจากปัจจัยภายนอก

การรักษา

อาจต้องใช้ยาคุมกำเนิด หรือยาปรับฮอร์โมน

ใช้ยาทาฆ่าเชื้อแบคทีเรียหรือยาแต้มสิวทั่วไป

ความแตกต่างของ สิวอุดตัน VS สิวอักเสบ VS สิวฮอร์โมน
1.สิวอุดตัน (Comedonal Acne)
เกิดจากรูขุมขนอุดตันโดยไขมันและเซลล์ผิวที่ตายแล้ว
• แบ่งเป็น สิวหัวดำ (Blackheads) และ สิวหัวขาว (Whiteheads)
• พบได้ทั่วไปบริเวณ T-Zone (หน้าผาก จมูก คาง)
• มักไม่ทำให้เกิดอาการปวดหรืออักเสบรุนแรง

การรักษาสิวอุดตัน
• ใช้ BHA หรือ AHA เพื่อช่วยผลัดเซลล์ผิว
• ทายา Benzoyl Peroxide หรือ Retinoid
• เลี่ยงเครื่องสำอางที่อุดตันรูขุมขน

2.สิวอักเสบ (Inflammatory Acne)
• เป็นสิวที่มีอาการบวมแดง เนื่องจากแบคทีเรีย Cutibacterium acnes (C.acnes) เจริญเติบโตในรูขุมขนที่อุดตัน
• มีหลายระดับตั้งแต่สิวตุ่มแดง (Papules) สิวหนอง (Pustules) ไปจนถึงสิวหัวช้าง (Nodules/Cysts)
• พบได้ทั่วใบหน้าและแผ่นหลัง

การรักษาสิวอักเสบ
• ทายาปฏิชีวนะ เช่น Clindamycin หรือ Erythromycin
• รับประทานยาปฏิชีวนะในกรณีรุนแรง
• ใช้ Benzoyl Peroxide ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย

3.สิวฮอร์โมน (Hormonal Acne)
• สิวฮอร์โมนมักเป็น สิวอักเสบเม็ดใหญ่ หรือ สิวหัวช้าง
• สิวฮอร์โมนพบมากบริเวณคาง แนวกราม และลำคอ
• สิวฮอร์โมนมักเกิดเป็นวงจรตามรอบเดือน
• สิวฮอร์โมนอาจรักษายากกว่าสิวประเภทอื่นเพราะเกี่ยวข้องกับระดับฮอร์โมนภายใน

การรักษาสิวฮอร์โมน
ใช้ยาคุมกำเนิด (Oral Contraceptives) ที่ช่วยควบคุมฮอร์โมน
• ใช้ยาปรับสมดุลฮอร์โมน เช่น Spironolactone (เฉพาะในบางกรณี)
• ใช้เรตินอยด์เพื่อลดการอุดตันของรูขุมขน
• ควบคุมอาหาร ลดน้ำตาลและนม ซึ่งอาจกระตุ้นฮอร์โมน

สิวฮอร์โมนเกิดจากอะไร ? เจาะลึกสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดสิวฮอร์โมน
เราจะมาเจาะลึกถึงสาเหตุหลักของสิวฮอร์โมนและปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดปัญหาของสิวฮอร์โมน

1.การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนช่วงวัยรุ่นส่งผลให้เกิดสิวฮอร์โมน
วัยรุ่นเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนอย่างมาก โดยเฉพาะฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) เช่น เทสโทสเตอโรน (Testosterone) ซึ่งมีบทบาทในการกระตุ้นการทำงานของต่อมไขมันให้ผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้น

ทำไมวัยรุ่นถึงเป็นสิวฮอร์โมนเยอะกว่าช่วงวัยอื่น ?
• ในช่วงวัยรุ่น ร่างกายเริ่มผลิตฮอร์โมนเพศเพิ่มขึ้นเพื่อกระตุ้นการพัฒนาโครงสร้างร่างกาย
• ฮอร์โมนแอนโดรเจนจะไปกระตุ้นต่อมไขมันให้ขยายตัวและผลิตน้ำมันมากขึ้น
• เมื่อมีน้ำมันมากเกินไป จะทำให้รูขุมขนอุดตัน และกลายเป็นสิวอุดตันหรือสิวอักเสบ
• วัยรุ่นบางคนอาจมีภาวะ ฮอร์โมนไม่สมดุล ทำให้เกิดสิวฮอร์โมนรุนแรงกว่าปกติ

ปัจจัยที่ทำให้สิวฮอร์โมนวัยรุ่นรุนแรงขึ้น
• การล้างหน้าที่ไม่เหมาะสม
• การใช้ผลิตภัณฑ์อุดตันรูขุมขน
• อาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูง
• ความเครียดจากการเรียนและการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

2.สิวฮอร์โมนในผู้หญิง
สิวฮอร์โมนจากรอบเดือน
ในช่วงรอบเดือน ระดับฮอร์โมนเพศหญิง เอสโตรเจน (Estrogen) และ โปรเจสเตอโรน (Progesterone) มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีผลต่อการผลิตน้ำมัน
• ก่อนมีประจำเดือน โปรเจสเตอโรนจะเพิ่มขึ้น ทำให้ต่อมไขมันผลิตน้ำมันมากขึ้น
• ฮอร์โมนแอนโดรเจนก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ทำให้เกิดการอุดตันของรูขุมขน
• ส่งผลให้เกิด สิวอักเสบหรือสิวอุดตัน หรือสิวฮอร์โมน โดยเฉพาะบริเวณคางและแนวกราม

สิวฮอร์โมนจากการตั้งครรภ์
• ระหว่างตั้งครรภ์ ร่างกายผลิต โปรเจสเตอโรนมากขึ้น เพื่อรักษาการตั้งครรภ์ ส่งผลให้ผิวมันมากกว่าปกติ
• น้ำมันที่มากขึ้นนำไปสู่การอุดตันของรูขุมขน ทำให้เกิดสิว
• คุณแม่บางคนมีสิวฮอร์โมนเห่อหนักในช่วงไตรมาสแรกและดีขึ้นหลังจากคลอด

สิวฮอร์โมนจากวัยทอง
• วัยหมดประจำเดือน (Menopause) มีการลดลงของฮอร์โมน เอสโตรเจน
• ในขณะเดียวกัน ฮอร์โมนแอนโดรเจนยังคงอยู่ในระดับเดิม ทำให้ต่อมไขมันทำงานมากขึ้น
• ผิวขาดสมดุลและผลิตน้ำมันมากเกินไป ทำให้เกิดสิวฮอร์โมนในบางคน

3.ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนกับการกระตุ้นการผลิตน้ำมัน
ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) คืออะไร ?
• เป็นฮอร์โมนแอนโดรเจนที่พบในทั้งผู้ชายและผู้หญิง แต่ในผู้ชายมีระดับสูงกว่า
• มีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของร่างกาย รวมถึงการผลิตน้ำมันบนผิวเป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดสิวฮอร์โมน

เทสโทสเตอโรนกับการเกิดสิวฮอร์โมน
• เทสโทสเตอโรนไปกระตุ้น ต่อมไขมัน (Sebaceous glands) ให้ผลิตน้ำมันมากขึ้น
• เมื่อมีไขมันมากเกินไป รวมกับเซลล์ผิวที่ตายแล้ว จะทำให้เกิดการอุดตันของรูขุมขน
• สิ่งนี้นำไปสู่การเจริญเติบโตของแบคทีเรีย Cutibacterium acnes (C.acnes) และทำให้เกิดการอักเสบทำให้เกิดสิวฮอร์โมน

ภาวะที่มีเทสโทสเตอโรนสูงผิดปกติ
• กลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่ (PCOS - Polycystic Ovary Syndrome) ซึ่งทำให้ผู้หญิงบางคนมีสิวฮอร์โมนเรื้อรัง
• การใช้ สเตียรอยด์ ในกลุ่มนักกีฬาหรือนักเพาะกายทำให้ระดับเทสโทสเตอโรนพุ่งสูงและเกิดสิวฮอร์โมนรุนแรง

4.ความเครียดกับสิวฮอร์โมน
ทำไมความเครียดทำให้เกิดสิวฮอร์โมน ?
• เมื่อร่างกายเครียด จะผลิตฮอร์โมน คอร์ติซอล (Cortisol) มากขึ้น
• คอร์ติซอลไปกระตุ้นต่อมไขมันให้ผลิตน้ำมันมากขึ้น
• ส่งผลให้เกิดการอุดตันของรูขุมขนและการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและทำให้เกิดสิวฮอร์โมน

พฤติกรรมที่เกิดจากความเครียดที่ทำให้สิวฮอร์โมนแย่ลง
• นอนดึก ทำให้ผิวฟื้นฟูได้ไม่เต็มที่
• การสัมผัสหน้าบ่อย ๆ จากความเครียดสะสม
• การทานอาหารฟาสต์ฟู้ดหรือของหวานเพื่อลดความเครียดทำให้สิวฮอร์โมนขึ้นได้ง่าย

วิธีลดสิวฮอร์โมนจากความเครียด
• ออกกำลังกาย เช่น โยคะ หรือเดินเล่น เพื่อปรับสมดุลฮอร์โมน
• ทำสมาธิหรือฝึกการหายใจลึก ๆ เพื่อลดระดับคอร์ติซอล
• พักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงต่อคืน

สิวฮอร์โมน

สิวฮอร์โมน คืออะไร เจาะลึกสาเหตุพร้อมวิธีรักษาให้หายขาด

สิวฮอร์โมน ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับสภาพผิวของแต่ละบุคคล

ปัจจัยที่ทำให้สิวฮอร์โมนแย่ลง
สิวฮอร์โมนเป็นปัญหาผิวที่ซับซ้อน ซึ่งไม่ได้เกิดจากฮอร์โมนเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีปัจจัยภายนอกที่สามารถกระตุ้นและทำให้สิวแย่ลงได้ บทความนี้จะอธิบายถึงปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อสิวฮอร์โมน เพื่อหลีกเลี่ยงการเป็นสิวฮอร์โมนจากต้นตอ

1.อาหารที่กระตุ้นสิวฮอร์โมน เช่น นม น้ำตาล และอาหารแปรรูป
นมและผลิตภัณฑ์จากนมเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดสิวฮอร์โมน
• นมวัว โดยเฉพาะนมพร่องมันเนย มีฮอร์โมนธรรมชาติ เช่น IGF-1 (Insulin-like Growth Factor 1) และ ฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งสามารถกระตุ้นต่อมไขมันและทำให้เกิดสิว
• นอกจากนี้ เวย์โปรตีน (Whey Protein) ที่พบในนมยังส่งเสริมการหลั่งอินซูลิน ซึ่งอาจทำให้การอักเสบของสิวรุนแรงขึ้น
• นมอาจกระตุ้นการหลั่ง ฮอร์โมนแอนโดรเจน ทำให้ต่อมไขมันผลิตน้ำมันมากขึ้น

ทางเลือกที่ดีกว่าเพื่อหลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นสิวฮอร์โมน
• เปลี่ยนเป็นนมพืช เช่น นมอัลมอนด์ นมข้าวโอ๊ต หรือ นมถั่วเหลือง (แบบไม่มีน้ำตาล)
• ลดการบริโภคนมและสังเกตอาการของสิวฮอร์โมน

น้ำตาลและอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลสูง (High-Glycemic Index Foods)
• น้ำตาลทรายขาว ขนมปังขาว และเครื่องดื่มหวานสามารถเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดอย่างรวดเร็ว
• ทำให้ร่างกายหลั่ง อินซูลิน มากขึ้น ซึ่งไปกระตุ้นต่อมไขมันให้ผลิตน้ำมันมากขึ้น
• ส่งผลให้รูขุมขนอุดตันง่ายขึ้นและทำให้เกิดสิวอักเสบและสิวฮอร์โมน

ทางเลือกที่ดีกว่าเพื่อหลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นสิวฮอร์โมน
• ลดปริมาณน้ำตาลแปรรูปและเลือกทานอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำ เช่น ธัญพืชเต็มเมล็ด ผัก และโปรตีนไม่ติดมัน
• หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง เช่น น้ำอัดลมและน้ำผลไม้สำเร็จรูป

อาหารแปรรูปและไขมันอักเสบ (Processed Foods & Inflammatory Fats)
• อาหารทอด ของขบเคี้ยว และอาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก ขนมขบเคี้ยว และอาหารฟาสต์ฟู้ด มักมี ไขมันทรานส์และโอเมก้า-6 สูง
• ไขมันโอเมก้า-6 อาจกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการอักเสบมากขึ้น ซึ่งทำให้สิวฮอร์โมน และสิวอักเสบรุนแรงขึ้น

ทางเลือกที่ดีกว่าเพื่อหลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นสิวฮอร์โมน
• เลือกไขมันดี เช่น โอเมก้า-3 จากปลาแซลมอน อะโวคาโด และถั่วต่าง ๆ
• ลดอาหารแปรรูปและปรุงอาหารเองเพื่อควบคุมวัตถุดิบ

2.การใช้ผลิตภัณฑ์สกินแคร์ผิดประเภททำให้เกิดสิวฮอร์โมน
ส่วนผสมที่ควรหลีกเลี่ยงเพื่อไม่ให้เกิดสิวฮอร์โมน

ซิลิโคนและน้ำมันที่อุดตันรูขุมขน (Comedogenic Oils & Silicones)
• น้ำมันบางชนิด เช่น Coconut Oil และ Cocoa Butter มีแนวโน้มทำให้รูขุมขนอุดตัน
• ซิลิโคนในผลิตภัณฑ์รองพื้นและไพรเมอร์บางชนิดอาจเคลือบผิวมากเกินไปและทำให้สิวฮอร์โมนเห่อ

แอลกอฮอล์ที่รุนแรง (Harsh Alcohols)
• เช่น Denatured Alcohol และ SD Alcohol 40 ที่ทำให้ผิวแห้งเกินไป
• ส่งผลให้ต่อมไขมันผลิตน้ำมันมากขึ้นเพื่อชดเชยความแห้ง ทำให้เกิดสิวฮอรโมน

ส่วนผสมที่ช่วยลดสิวฮอร์โมน
• Salicylic Acid (BHA) ขจัดไขมันและเซลล์ผิวที่อุดตันรูขุมขน
• Retinoids กระตุ้นการผลัดเซลล์ผิว ลดการอุดตัน
• Niacinamide ลดการอักเสบและควบคุมการผลิตน้ำมัน

เคล็ดลับเลือกผลิตภัณฑ์ลดสิวฮอร์โมน
• เลือกผลิตภัณฑ์ที่ระบุว่า Non-Comedogenic และปราศจากน้ำมัน
• ทดสอบผลิตภัณฑ์ใหม่ก่อนใช้กับใบหน้าเพื่อลดความเสี่ยงของการแพ้

3.การพักผ่อนไม่เพียงพอและผลกระทบต่อฮอร์โมน
ผลของการอดนอนต่อฮอร์โมน
• การนอนน้อย (น้อยกว่า 6-7 ชั่วโมงต่อคืน) ทำให้ระดับ คอร์ติซอล (Cortisol) สูงขึ้น
• คอร์ติซอลสามารถเพิ่มการอักเสบในร่างกาย และไปกระตุ้นการทำงานของต่อมไขมัน
• ทำให้สิวฮอร์โมนอักเสบรุนแรงขึ้นและเกิดสิวฮอร์โมนใหม่ง่ายขึ้น

การนอนช่วยลดสิวฮอร์โมนได้อย่างไรบ้าง
• ในช่วง Deep Sleep ร่างกายจะหลั่ง โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) ที่ช่วยฟื้นฟูเซลล์ผิวและลดการอักเสบ
• ฮอร์โมนอินซูลินและฮอร์โมนเพศจะกลับสู่สมดุลเมื่อร่างกายพักผ่อนได้เพียงพอ

เคล็ดลับการนอนเพื่อผิวดีหลีกเลี่ยงสิวฮอร์โมน
• นอนให้ได้ 7-9 ชั่วโมงต่อคืน
• หลีกเลี่ยงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ก่อนนอนเพื่อลดแสงสีฟ้า
• ใช้ปลอกหมอนสะอาดและเปลี่ยนเป็นประจำเพื่อลดการสะสมของแบคทีเรีย

4.ผลข้างเคียงจากยาคุมกำเนิดและยาฮอร์โมน
ยาคุมกำเนิดกับสิวฮอร์โมน
• ยาคุมกำเนิดบางชนิดช่วยลดสิวฮอร์โมนได้ เช่น ยาคุมที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งช่วยลดระดับแอนโดรเจน
• อย่างไรก็ตาม ยาคุมบางชนิดที่มี โปรเจสเตอโรนชนิดแอนโดรเจนสูง อาจทำให้สิวแย่ลง เช่น ยาคุมชนิดโปรเจสตินเดี่ยว (Mini Pill)

ยาฮอร์โมนอื่น ๆ ที่อาจกระตุ้นสิวฮอร์โมน
• สเตียรอยด์ (Steroids) ทำให้ฮอร์โมนแอนโดรเจนเพิ่มขึ้น กระตุ้นการผลิตน้ำมัน
• ยาแก้ซึมเศร้าและยากันชักบางชนิด อาจมีผลต่อการทำงานของฮอร์โมนและกระตุ้นสิว

วิธีจัดการกับผลข้างเคียงจากยา
• ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาคุมกำเนิดหากมีแนวโน้มเป็นสิวฮอร์โมน
• สังเกตว่ายาที่ใช้อยู่มีผลต่อสิวฮอร์โมนหรือไม่ ถ้าส่งผลควรปรึกษาแพทย์เพื่อเปลี่ยนตัวยา หรือปรับวิธีรับประทาน

สิวฮอร์โมนขึ้นบริเวณไหน ? ดูตำแหน่งเพื่อบอกปัญหาสุขภาพ
สิวฮอร์โมนสามารถเกิดขึ้นได้ในหลายตำแหน่งบนใบหน้าและร่างกาย แต่ละจุดที่เกิดสิวอาจบ่งบอกถึงความไม่สมดุลของฮอร์โมนหรือปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ตำแหน่งของสิวฮอร์โมน สามารถช่วยให้เราปรับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพได้อย่างเหมาะสม

1.สิวฮอร์โมนขึ้นคาง ขากรรไกร และลำคอ หมายถึงอะไร ?
สิวฮอร์โมนขึ้นที่คาง (Chin Acne)
• ต้นเหตุหลัก การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen)
• พบมากใน ผู้หญิงช่วงก่อนมีประจำเดือน หรือผู้ที่มีภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล
• อาการ มักเป็นสิวฮอร์โมนอักเสบเม็ดใหญ่ หรือสิวหัวช้าง

สิวฮอร์โมนบริเวณคางสัมพันธ์กับสุขภาพอะไรบ้าง ?
• ความไม่สมดุลของฮอร์โมนเพศ - พบมากในช่วงมีประจำเดือน, PCOS (ถุงน้ำรังไข่)
• ปัญหาทางเดินอาหารและลำไส้ - อาหารที่มีน้ำตาลสูงและนมอาจส่งผลให้สิวฮอรโมนขึ้นมากขึ้น

สิวฮอร์โมนขึ้นที่ขากรรไกร (Jawline Acne)
• ต้นเหตุหลัก ฮอร์โมนแอนโดรเจนและความเครียด
• พบมากใน ผู้ที่มีปัญหาความเครียดสูง, การนอนหลับไม่เพียงพอ
• อาการ มักเป็นสิวอักเสบหัวลึก บวมแดง

สิวฮอร์โมนบริเวณขากรรไกรสัมพันธ์กับอะไร?
• ความเครียดสูง (High Cortisol Levels) - ฮอร์โมนคอร์ติซอลที่สูงขึ้นจากความเครียดไปกระตุ้นการผลิตน้ำมัน
• ปัญหาของต่อมไทรอยด์ (Thyroid Imbalance) - อาจเกิดจากภาวะพร่องไทรอยด์ (Hypothyroidism)

สิวฮอร์โมนขึ้นที่ลำคอ (Neck Acne)
• ต้นเหตุหลัก ความไม่สมดุลของฮอร์โมนเพศและระบบภูมิคุ้มกัน
• พบมากใน ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพภายใน หรือมีอาการแพ้เครื่องสำอาง

สิวบริเวณลำคอสัมพันธ์กับอะไร?
• ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ (Weakened Immune System) - การพักผ่อนไม่เพียงพอ
• ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหรือแชมพูที่ระคายเคือง - การใช้ครีมหรือแชมพูที่อุดตันรูขุมขน

2.สิวฮอร์โมนบนแก้ม vs.สิวฮอร์โมนที่หน้าผาก
สิวฮอร์โมนบนแก้ม (Cheek Acne)
• ต้นเหตุหลัก การสะสมของแบคทีเรีย, ระบบทางเดินหายใจ และฮอร์โมน

สิวฮอร์โมนบริเวณแก้มสัมพันธ์กับอะไร ?
• ปัญหาระบบทางเดินหายใจ - การสูดอากาศเสีย ฝุ่น หรือการสูบบุหรี่
• การสัมผัสใบหน้าบ่อย ๆ - โทรศัพท์มือถือ ผ้าห่ม ปลอกหมอนที่สกปรก

สิวฮอร์โมนที่หน้าผาก (Forehead Acne)
• ต้นเหตุหลัก ความเครียด, การสะสมของน้ำมัน, และระบบย่อยอาหาร

สิวบริเวณหน้าผากสัมพันธ์กับอะไร ?
• ระบบย่อยอาหารและตับ - การรับประทานอาหารแปรรูปมากเกินไป
• ความเครียดและการนอนหลับไม่เพียงพอ - ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน

วิธีรักษาสิวฮอร์โมนให้หายขาดอย่างปลอดภัย
สิวฮอร์โมนเป็นปัญหาผิวที่เกี่ยวข้องกับความไม่สมดุลของฮอร์โมนภายในร่างกาย ดังนั้น การรักษาที่มีประสิทธิภาพไม่ใช่เพียงแค่การใช้ยาและครีมทาภายนอก แต่ต้องปรับสมดุลของร่างกายจากภายในด้วย บทความนี้จะอธิบายวิธีรักษาสิวฮอร์โมนให้หายขาดอย่างปลอดภัย โดยเน้นทั้งการปรับสมดุลฮอร์โมนด้วยโภชนาการ ออกกำลังกาย และนวัตกรรมทางการแพทย์ เช่น Aviclear และ Pico Laser

1.การปรับสมดุลฮอร์โมนด้วยโภชนาการ
อาหารที่ช่วยลดสิวฮอร์โมน
การเลือกรับประทานอาหารที่ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนจะช่วยลดสิวฮอร์โมนได้อย่างยั่งยืน

อาหารที่ช่วยลดสิวฮอร์โมน
• ไขมันดี เช่น อะโวคาโด น้ำมันมะกอก ปลาแซลมอน เพราะโอเมก้า-3 ลดการอักเสบ
• ไฟเบอร์สูง เช่น ผักใบเขียว ธัญพืชเต็มเมล็ด ถั่วต่างๆ ช่วยควบคุมระดับอินซูลิน
• โปรตีนที่ดีต่อฮอร์โมน เช่น ไก่ ปลา เต้าหู้ และไข่
• ชาเขียว มีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดการอักเสบและลดระดับฮอร์โมนแอนโดรเจน
• โปรไบโอติก เช่น โยเกิร์ต กิมจิ มิโสะ ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานดีขึ้น ลดการอักเสบของสิว

2.ออกกำลังกายกับการควบคุมฮอร์โมน
ทำไมการออกกำลังกายช่วยลดสิวฮอร์โมน
• ลดระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล ซึ่งเป็นฮอร์โมนความเครียดที่ทำให้สิวแย่ลง
• ช่วยปรับสมดุลอินซูลิน ทำให้ร่างกายไม่ผลิตน้ำมันมากเกินไป
• กระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ทำให้ผิวได้รับออกซิเจนและสารอาหารมากขึ้น

ประเภทของการออกกำลังกายที่ดีต่อสิวฮอร์โมน
• คาร์ดิโอ เช่น เดินเร็ว ว่ายน้ำ วิ่งเบาๆ ช่วยกระตุ้นระบบเผาผลาญ
• โยคะและพิลาทิส ลดความเครียดและช่วยให้ฮอร์โมนสมดุล
• เวทเทรนนิ่ง ปรับระดับอินซูลินและลดการอักเสบของสิว
• HIIT (High-Intensity Interval Training) ช่วยลดไขมันและฮอร์โมน  แอนโดรเจน

3.การรักษาสิวฮอร์โมนด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์
Aviclear เทคโนโลยีเลเซอร์ลดสิวฮอร์โมนโดยตรง
Aviclear เป็นเลเซอร์ที่ใช้พลังงาน 1726 nm wavelength เพื่อเข้าไปลดการทำงานของต่อมไขมันโดยตรงโดยไม่ทำลายผิวชั้นบน

ข้อดีของ Aviclear เพื่อลดสิวฮอร์โมน
• ช่วยลดการผลิตน้ำมันที่เป็นต้นเหตุของสิวฮอร์โมน
• ไม่ต้องใช้ยา เช่น ยาแต้มสิวหรือยาปฏิชีวนะ
• ได้รับการรับรองจาก FDA (องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา)
• เหมาะสำหรับคนที่ไม่ต้องการใช้ยาคุมเพื่อควบคุมสิว

เห็นผลภายใน 3-6 เดือน และอาจช่วยลดสิวฮอร์โมนถาวรในบางกรณี

Pico Laser เทคโนโลยีลดรอยสิวและปรับสีผิว
Pico Laser เป็นเลเซอร์ที่ช่วยลดรอยดำจากสิวฮอร์โมน และกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน

ข้อดีของ Pico Laser
• ลดรอยแดง รอยดำ และจุดด่างดำจากสิว
• ปลอดภัยต่อทุกสภาพผิว
• ช่วยกระตุ้นการผลัดเซลล์ผิวโดยไม่ทำลายผิว

เหมาะสำหรับคนที่รักษาสิวหายแล้ว แต่ยังมีรอยดำรอยแดง

ยารักษาสิวฮอร์โมนที่แพทย์แนะนำ
การรักษาสิวฮอร์โมนด้วยยาเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสำหรับผู้ที่มีปัญหาสิวรุนแรงหรือเรื้อรัง ซึ่งไม่ตอบสนองต่อการดูแลผิวและการปรับพฤติกรรมเพียงอย่างเดียว ในบทความนี้จะอธิบายถึงยา 3 ประเภทหลักที่แพทย์มักแนะนำเมื่อเป็นสิวฮอร์โมนหนัก ๆ ได้แก่ ยาคุมกำเนิด สไปโรโนแลคโตน (Spironolactone) และกรดวิตามินเอ (Isotretinoin)

1.ยาคุมกำเนิดกับการรักษาสิวฮอร์โมน
ทำไมยาคุมกำเนิดช่วยรักษาสิวฮอร์โมนได้ ?
ยาคุมกำเนิดมีส่วนประกอบของฮอร์โมน เอสโตรเจน (Estrogen) และ โปรเจสติน (Progestin) ซึ่งช่วยควบคุมระดับฮอร์โมนแอนโดรเจนในร่างกาย แอนโดรเจนเป็นฮอร์โมนเพศชายที่กระตุ้นการผลิตน้ำมันจากต่อมไขมันในผิวหนัง การลดระดับแอนโดรเจนจึงช่วยลดการผลิตน้ำมัน และป้องกันการเกิดสิว

ยาคุมกำเนิดที่แพทย์แนะนำสำหรับรักษาสิวฮอร์โมน
แพทย์มักแนะนำยาคุมที่มี เอสโตรเจน + โปรเจสตินที่มีฤทธิ์ต่อต้านแอนโดรเจน ซึ่งช่วยลดการผลิตน้ำมันใต้ผิวหนัง เช่น

1.Diane-35 (Cyproterone acetate + Ethinyl estradiol)
• ออกฤทธิ์ลดระดับแอนโดรเจนโดยตรง
• เหมาะสำหรับผู้ที่มีภาวะฮอร์โมนแอนโดรเจนสูง เช่น PCOS (Polycystic Ovary Syndrome)
• อาจมีผลข้างเคียง เช่น อาการบวมน้ำ ปวดศีรษะ หรือเสี่ยงต่อภาวะลิ่มเลือด

2.Yasmin / Yaz (Drospirenone + Ethinyl estradiol)
• Drospirenone มีฤทธิ์ลดแอนโดรเจนและช่วยลดการผลิตน้ำมัน
• เหมาะสำหรับผู้ที่มีแนวโน้มเป็นสิวฮอร์โมนแต่ไม่ต้องการผลข้างเคียงของ Diane-35
• มีความเสี่ยงต่อภาวะลิ่มเลือดต่ำกว่ากลุ่ม Cyproterone acetate

ข้อควรระวังของยาคุมกำเนิดในการรักษาสิวฮอร์โมน
• อาจต้องใช้เวลา 2-3 เดือน กว่าจะเห็นผลชัดเจน
• อาจมีผลข้างเคียง เช่น น้ำหนักขึ้น อารมณ์แปรปรวน หรือเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือด
• ไม่เหมาะกับผู้ที่มีประวัติความเสี่ยงด้านสุขภาพ เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง

2.สไปโรโนแลคโตน (Spironolactone) ยาลดฮอร์โมนเพศชาย
Spironolactone คืออะไร ?
Spironolactone เป็นยาขับปัสสาวะที่ใช้รักษาความดันโลหิตสูง แต่แพทย์ผิวหนังยังใช้รักษาสิวฮอร์โมนเนื่องจากมีฤทธิ์เป็น Anti-Androgen หรือสารต้านฮอร์โมนเพศชาย

กลไกการออกฤทธิ์ของ Spironolactone ในการรักษาสิวฮอร์โมน
• ยับยั้งการทำงานของ แอนโดรเจน (Testosterone และ DHT) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นการผลิตน้ำมัน
• ลดการทำงานของต่อมไขมัน ทำให้ลดการเกิดสิวอุดตันและสิวอักเสบ

Spironolactone เหมาะกับใคร ?
• ผู้หญิงที่มี สิวฮอร์โมนเรื้อรัง โดยเฉพาะที่คาง ขากรรไกร และลำคอ
• ผู้หญิงที่เป็น PCOS (Polycystic Ovary Syndrome) ซึ่งมีภาวะแอนโดรเจนสูง

ผลข้างเคียงของ Spironolactone
• อาจทำให้ความดันโลหิตลดลงผิดปกติ
• มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ อาจทำให้ร่างกายขาดโพแทสเซียม
• อาจทำให้รอบเดือนผิดปกติ หรือมีอาการเวียนหัว อ่อนเพลีย
• ไม่ควรใช้ในผู้ชาย เพราะอาจทำให้เกิด Gynecomastia (เต้านมโตในผู้ชาย)

3.กรดวิตามินเอ (Isotretinoin) เหมาะกับใครบ้าง ?
Isotretinoin คืออะไร ?
Isotretinoin เป็นยาในกลุ่ม เรตินอยด์ (Retinoid) ที่มีฤทธิ์แรงที่สุดในการรักษาสิวฮอร์โมน โดยทำงานโดย
• ลดขนาดของต่อมไขมันและลดการผลิตน้ำมันลงถึง 70-90%
• ลดการอุดตันของรูขุมขนและควบคุมการแบ่งตัวของเซลล์ผิว
• ลดจำนวนแบคทีเรีย C.acnes ที่เป็นสาเหตุของสิวอักเสบ

Isotretinoin เหมาะกับใคร ?
• ผู้ที่มี สิวฮอร์โมนรุนแรง เช่น สิวหัวช้าง หรือสิวอักเสบที่เกิดเป็นวงจรซ้ำๆ
• ผู้ที่เคยลองยาปฏิชีวนะ ยาคุมกำเนิด หรือ Spironolactone แล้วไม่ได้ผล
• ผู้ที่ต้องการ รักษาสิวระยะยาว โดยลดการทำงานของต่อมไขมันถาวร

ข้อควรระวังของ Isotretinoin
• อาจทำให้ ผิวแห้งมาก ตาแห้ง ปากแตก ต้องใช้มอยส์เจอไรเซอร์เป็นประจำ
• อาจเพิ่มความเสี่ยงของ ภาวะซึมเศร้าและอารมณ์แปรปรวน
• ห้ามใช้ใน หญิงตั้งครรภ์ เพราะทำให้เกิดความผิดปกติของทารกในครรภ์
• ต้องตรวจค่าตับและไขมันในเลือดเป็นระยะ เนื่องจากยาอาจทำให้ระดับไขมันสูง

ระยะเวลาในการใช้ Isotretinoin ในการรักษาสิวฮอร์โมน
• ปกติใช้เวลา 4-6 เดือน ในการรักษา
• เมื่อสิวหายแล้ว อาจไม่กลับมาเป็นอีกเนื่องจากต่อมไขมันถูกยับยั้งถาวร

สกินแคร์รักษาสิวฮอร์โมน เลือกแบบไหนดี ?
สิวฮอร์โมนเกิดจากความไม่สมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย โดยเฉพาะฮอร์โมนแอนโดรเจนที่กระตุ้นต่อมไขมันให้ผลิตน้ำมันมากขึ้น ส่งผลให้รูขุมขนอุดตันและเกิดสิวอักเสบ ดังนั้น การเลือกสกินแคร์ที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญเพื่อช่วยควบคุมความมัน ลดการอักเสบ และป้องกันการเกิดสิวใหม่

1.ส่วนผสมสำคัญที่ช่วยลดสิวฮอร์โมน
ไนอาซินาไมด์ (Niacinamide)
ไนอาซินาไมด์เป็นรูปแบบหนึ่งของวิตามิน B3 ที่มีคุณสมบัติช่วยลดสิวฮอร์โมนได้หลายทาง
• ควบคุมความมัน ลดการผลิตน้ำมันส่วนเกินที่เป็นต้นเหตุของสิว
• ลดการอักเสบ  ลดรอยแดงและอาการบวมของสิว
• เสริมสร้างเกราะป้องกันผิว ทำให้ผิวแข็งแรงขึ้นและลดการระคายเคือง
• ลดรอยดำจากสิว  ช่วยให้ผิวกระจ่างใสขึ้น

กรดซาลิไซลิก (Salicylic Acid / BHA)
กรดซาลิไซลิกเป็น Beta Hydroxy Acid (BHA) ที่สามารถซึมเข้าสู่รูขุมขนเพื่อขจัดสิ่งอุดตัน
• ผลัดเซลล์ผิวอย่างอ่อนโยน ช่วยลดการอุดตันของรูขุมขน
• ลดการอักเสบของสิว เหมาะสำหรับสิวอักเสบและสิวอุดตัน
• ควบคุมความมัน ช่วยลดการผลิตน้ำมันส่วนเกิน

เรตินอล (Retinol) และ อนุพันธ์วิตามินเอ (Retinoids)
เรตินอลเป็นอนุพันธ์ของวิตามิน A ที่มีประสิทธิภาพสูงในการลด สิวฮอร์โมน และปรับสภาพผิว
• เร่งการผลัดเซลล์ผิว ลดการอุดตันของรูขุมขน
• ลดความมันส่วนเกิน ทำให้ต่อมไขมันทำงานลดลง
• ลดรอยดำและรอยแดงจากสิว กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน

2.มอยส์เจอร์ไรเซอร์ที่เหมาะกับคนเป็นสิวฮอร์โมน
ทำไมคนเป็นสิวฮอร์โมนต้องใช้มอยส์เจอร์ไรเซอร์
• ผิวที่ขาดความชุ่มชื้นจะผลิตน้ำมันมากขึ้น ทำให้สิวฮอร์โมนแย่ลง
• การใช้ยารักษาสิว เช่น Benzoyl Peroxide หรือ Retinol อาจทำให้ผิวแห้งและลอก

มอยส์เจอร์ไรเซอร์ที่เหมาะกับคนเป็นสิวฮอร์โมน
ควรเลือกสูตรที่ Oil-Free, Non-Comedogenic และมีเนื้อบางเบา

ประเภทของมอยส์เจอร์ไรเซอร์ที่แนะนำ
1.แบบเจล (Gel-Based Moisturizer)
• ซึมไว ไม่เหนียวเหนอะหนะ
• เหมาะสำหรับผิวมัน-ผิวผสม
• ส่วนผสมที่ดี เช่น ไฮยาลูรอนิกแอซิด ว่านหางจระเข้

2.แบบโลชั่นบางเบา (Lightweight Lotion)
• ให้ความชุ่มชื้นโดยไม่ทำให้หน้ามัน
• เหมาะสำหรับผิวแห้งที่เป็นสิว
• ส่วนผสมที่ดี เช่น ไนอาซินาไมด์ เซราไมด์

3.ขั้นตอนการใช้สกินแคร์สำหรับสิวฮอร์โมน
ตอนเช้า (Morning Routine)
1.คลีนเซอร์ - สูตรอ่อนโยน ไม่มีซัลเฟต
2.เซรั่ม - ไนอาซินาไมด์ หรือ เซรั่มวิตามินซี
3.มอยส์เจอร์ไรเซอร์ - สูตรบางเบา Oil-Free
4.ครีมกันแดด (SPF 30-50) - ป้องกันรอยดำจากสิว

ตอนกลางคืน (Night Routine)
1.คลีนเซอร์ - ล้างเครื่องสำอางให้สะอาด
2.โทนเนอร์ - กรดซาลิไซลิก (ถ้าผิวไม่แพ้ง่าย)
3.เซรั่ม - เรตินอล หรือ อะเซลิกแอซิด
4.มอยส์เจอร์ไรเซอร์ - เพิ่มความชุ่มชื้นและฟื้นฟูผิว

ผลิตภัณฑ์สำหรับคนเป็นสิวฮอร์โมน

สิวฮอร์โมน

สิวฮอร์โมน คืออะไร เจาะลึกสาเหตุพร้อมวิธีรักษาให้หายขาด

สิวฮอร์โมน ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับสภาพผิวของแต่ละบุคคล

ผลิตภัณฑ์ล้างหน้าสำหรับคนเป็นสิวฮอร์โมน
GENTLE FOAMING CLEANSER ทำความสะอาดผิวหน้า ขจัดสิ่งสกปรก คืนความชุ่มชื้นด้วยสารสกัดจาก Vitamin B5

สิวฮอร์โมน

สิวฮอร์โมน คืออะไร เจาะลึกสาเหตุพร้อมวิธีรักษาให้หายขาด

สิวฮอร์โมน ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับสภาพผิวของแต่ละบุคคล

เซรั่มสำหรับคนเป็นสิวฮอร์โมน
PERFECTIONIST REGENERATING SERUM อาหารผิว ช่วยกระตุ้นตาข่ายผิว ช่วยให้ผิวเรียบเนียนขึ้น
Ectoin ส่งเสริมระบบภูมิต้านทานของเซลล์ผิว
Oligopeptide -1 โปรตีนที่ช่วยสร้างเนื้อเยื่อทดแทนเซลล์ผิวที่ถูกทำลาย

สิวฮอร์โมน

สิวฮอร์โมน คืออะไร เจาะลึกสาเหตุพร้อมวิธีรักษาให้หายขาด

สิวฮอร์โมน ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับสภาพผิวของแต่ละบุคคล

MIRACLE BOOSTING SERUM ลดการผื่นแพ้ ฟื้นฟูผิวอ่อนแอ และปลอบประโลมผิว
ARTEMIA SALINA สารสกัดจากแพลงก์ตอนทะเล ช่วยฟื้นฟูเซลล์ผิว

สิวฮอร์โมน

สิวฮอร์โมน คืออะไร เจาะลึกสาเหตุพร้อมวิธีรักษาให้หายขาด

สิวฮอร์โมน ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับสภาพผิวของแต่ละบุคคล

MASK หน้าสำหรับคนเป็นสิวฮอร์โมน
ป้องกันการระคายเคือง ปลอบประโลมผิว
Ulmus Extract สารสกัดจากเปลือกต้น Ulmus ช่วยลดการอักเสบ ลดบวมแดงเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิว

สรุปทุกเรื่องเกี่ยวกับสิวฮอร์โมน
สิวฮอร์โมนเป็นปัญหาใหญ่ของใครหลายคน ถ้าเกิดรักษาผิดวิธีอาจทำให้สิวฮอร์โมนลุกลามได้ เพราะฉะนั้นใครที่เป็นสิวฮอร์โมนอยู่ แล้วไม่รู้ว่าต้องรักษาอย่างไร สามารถนัดคิวมาปรึกษาที่รมย์รวินท์คลินิกได้เลย เรามีแพทย์และเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ที่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด
เรื่องสิวๆ อย่าปล่อยไว้ ควรรีบรักษาโดยด่วน ที่รมย์รวินท์คลินิก

สิวฮอร์โมน

สิวฮอร์โมน คืออะไร เจาะลึกสาเหตุพร้อมวิธีรักษาให้หายขาด

สิวฮอร์โมน ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับสภาพผิวของแต่ละบุคคล

Q&A คำถามยอดฮิตเกี่ยวกับสิวฮอร์โมน
1.สิวฮอร์โมนเกิดขึ้นช่วงไหนของเดือนมากที่สุด?
ในผู้หญิง
สิวฮอร์โมนมักเกิดขึ้น ก่อนมีประจำเดือน 7-10 วัน ซึ่งเป็นช่วงที่ระดับฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก
• ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) สูงขึ้น - กระตุ้นต่อมไขมันให้ผลิตน้ำมันมากขึ้น
• ฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) เพิ่มขึ้น - ทำให้รูขุมขนอุดตันง่ายขึ้น
• หลังจากมีประจำเดือน ระดับฮอร์โมนจะกลับมาเป็นปกติ สิวมักจะเริ่มดีขึ้นเอง

ในผู้ชาย
สิวฮอร์โมนอาจไม่ขึ้นตามรอบเดือน แต่เกี่ยวข้องกับ ระดับเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ที่สูงขึ้นในช่วงวัยรุ่น หรือภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล

2.ทำไมบางคนเป็นสิวฮอร์โมนหนักกว่าคนอื่น?
สิวฮอร์โมนของแต่ละคนรุนแรงต่างกันเพราะมีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับฮอร์โมนและการผลิตน้ำมัน

ปัจจัยที่ทำให้สิวฮอร์โมนรุนแรงขึ้น
1.ความไวของต่อมไขมันต่อแอนโดรเจน
• บางคนมีต่อมไขมันที่ตอบสนองต่อฮอร์โมนมากกว่าปกติ ทำให้ผลิตน้ำมันมากขึ้น
• แม้ระดับฮอร์โมนในร่างกายจะปกติ แต่ต่อมไขมันไวต่อแอนโดรเจนมากเกินไป

2.ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS - Polycystic Ovary Syndrome)
พบในผู้หญิงที่มีระดับแอนโดรเจนสูงผิดปกติ ทำให้เกิดสิวเรื้อรัง

3.พันธุกรรม
หากพ่อแม่เคยเป็นสิวฮอร์โมนรุนแรง มีโอกาสสูงที่ลูกจะเป็นเช่นกัน

4.อาหารและพฤติกรรมการใช้ชีวิต
• อาหารที่มีน้ำตาลสูง นมวัว อาหารแปรรูป - กระตุ้นอินซูลินและเพิ่มการผลิตแอนโดรเจน
• ความเครียดสูง - เพิ่มระดับคอร์ติซอล (Cortisol) ซึ่งกระตุ้นการอักเสบและการเกิดสิว

3.ต้องใช้เวลากี่เดือนกว่าสิวฮอร์โมนจะหาย?
ระยะเวลาที่สิวฮอร์โมนจะหายขึ้นอยู่กับ
• ความรุนแรงของสิว
• การรักษาที่ใช้
• พฤติกรรมการดูแลผิวและสุขภาพ

4.สิวฮอร์โมนหายเองได้ไหมถ้าไม่รักษา?
สิวฮอร์โมนอาจหายเองในบางกรณี เช่น
• เมื่อระดับฮอร์โมนสมดุลเอง เช่น หลังวัยรุ่น หรือหลังการตั้งครรภ์
• หากสามารถควบคุมอาหาร การพักผ่อน และลดความเครียดได้

แต่ในกรณีที่มีภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลรุนแรง
• สิวอาจไม่หายเอง และอาจกลายเป็นสิวเรื้อรัง
• หากปล่อยไว้อาจเกิด รอยดำ รอยแดง หรือแผลเป็น

* ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับเฉพาะบุคคล
* เงื่อนไขตามบริษัทฯ กำหนด
เรื่อง โปรแกรมดูแลผิวหน้า ที่คุณอาจสนใจ